ข่าวอื่นๆ

ฟุตบอล 7 สี : 15 ปี บนพื้นหญ้า Chapter One

ย้อนกลับไป 15 ปีที่แล้ว ในยุคที่ฟุตบอลทีมชาติไทย ทำผลงานได้ไม่ดีนักในระดับชาติ ฟุตบอลลีก และฟุตบอลเยาวชนก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าทุกวันนี้ แต่นั่นไม่ได้ส่งผลให้ความรักในเกมลูกหนังของคนไทยลดลง

ความหลงใหลในฟุตบอลส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนถึงสายเลือดใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับฟุตบอลโรงเรียน โรงเรียนใหญ่ๆหลายแห่งเริ่มสั่งสมขุมกำลังนักเตะ ฝึกปรือฝีเท้า เพื่อส่งทีมแข่งขัน แต่มีเพียงไม่กี่ทัวร์นาเมนต์ที่ทำให้แข้งวัยกระเตาะเหล่านี้ ได้สร้างชื่อให้สังคมรู้จัก

ในยุคนั้น นอกจากการพัฒนาฝีเท้าให้ยอดเยี่ยม การได้เล่นฟุตบอลต่อหน้าผู้ชมทั่วประเทศ คืออีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะนี่คือเส้นทางสู่นักฟุตบอลอาชีพ และโอกาสสวมเสื้อทีมชาติไทย

และแล้วสิ่งที่เติมเต็มความต้องการเหล่านั้นก็เป็นจริง เมื่อมีทัวร์นาเมนต์ที่ชื่อว่า "ฟุตบอล 7 คน แชมป์กีฬา 7 สี" หรือ "บอล 7 สี" เกิดขึ้น

แต่...... ทำไมต้องเป็นบอล 7 คน!? ถ้าเอกลักษณ์ของฟุตบอลคือความสนุกตื่นเต้นและการทำประตู เอกลักษณ์ของบอล 7 คน คงจะเป็นการแข่งขันที่เปิดฉากพลัดกันรุกรับ ด้วยเวลาเพียง 25 นาที ของแต่ละครึ่ง และพื้นที่ๆน้อยลง ทำให้ทุกทีมไม่ว่าทีมเล็กหรือทีมใหญ่ มีโอกาสส่งบอลสู่ก้นตาข่ายเสมอ และนั่นทำให้กองเชียร์ได้ลุ้นจนถึงวินาทีสุดท้าย

ฟุตบอล 7 สี เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี 2003 ด้วยการเชิญ 8 ทีม แต่ละทีมที่มีดีกรีเป็นแชมป์ และผลงานยอดเยี่ยมในแวดวงขาสั้นทั้งนั้น

ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (แชมป์ โค้กคัพ และแชมป์ร่วม ฟุตบอลจตุรมิตร), วัดสุทธิวราราม (แชมป์ กทม), สวนกุหลาบวิทยาลัย (แชมป์ โอวันติน), ปทุมคงคา (แชมป์ ฟุตซอล กทม.) อัสสัมชัญศรีราชา (แชมป์ KFC ลีก) ราชวินิตบางแก้ว, สารวิทยา และสุรศักดิ์มนตรี เข้าร่วมแข่งขัน

ซึ่งปีนั้นจบลงด้วย การครองแชมป์ของ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยปิยะชาติ ถามะพันธ์ นักเตะยอดเยี่ยมได้แจ้งเกิดและเป็นที่รู้จักถึงทุกวันนี้ ส่วนปทุมคงคา อกหักได้เพียงรองแชมป์

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark