ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

ประมวลภาพ วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส จากอเมริกาถึงไทยแล้ว โดย DHL



วันนี้ (30 ก.ค. 64) เมื่อเวลาประมาณ 04.00 น. วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ที่สหรัฐอเมริกา บริจาคให้ไทย ได้จัดส่งถึงประเทศไทยแล้ว

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศระดับโลก ดำเนินการจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทคล็อตแรกจำนวน 1.5 ล้านโดสที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาบริจาคให้กับประเทศไทยแล้ววันนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ขนส่งวัคซีนโดยเครื่องบินขนส่งสินค้าข้ามประเทศจากต้นทางในประเทศสหรัฐอเมริกามาถึงปลายทางที่ประเทศไทยในเวลาสามวัน โดยขนส่งวัคซีนในบรรจุภัณฑ์ที่ควบคุมอุณหภูมิ จัดส่งไปยังคลังเก็บวัคซีนที่กำหนดในประเทศไทย

การมาถึงของวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคจำนวน 1.5 ล้านโดส เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวัคซีนที่สหรัฐอเมริกาบริจาคให้แก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศไทย และภูมิภาคนี้เร่งการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนมีความปลอดภัย และทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว

โดยทาง ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เปิดเผยว่า ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจ และได้รับการมอบหมายจากลูกค้าให้เราได้ดูแลการขนส่งวัคซีนครั้งสำคัญนี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าจากการติดเชื้อโควิด-19 เราภูมิใจที่ได้ใช้ความเชี่ยวชาญของเรา และเน็ตเวิร์คของดีเอชแอลในการขนส่งผลิตภัณฑ์ที่สำคัญต่อการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ตามข้อกำหนดด้านการขนส่งที่เคร่งครัดเพื่อร่วมผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้

ด้าน เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าว “จากข้อมูลล่าสุดจนถึงวันนี้ ดีเอชแอลได้ขนส่งวัคซีนรวมทั้งหมดเกือบ 550 ล้านโดส ไปยังปลายทาง 147 ประเทศทั่วโลก สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัทในการเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น (Connecting people, improving lives) นอกจากนี้ พวกเราภูมิใจกับบทบาทสำคัญที่ทำอย่างต่อเนื่องในการส่งต่อความปลอดภัย วิถีชีวิตใหม่ให้กับธุรกิจและสังคมที่เราอยู่”

หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ครั้งนี้คือ ข้อกำหนดที่เคร่งครัดในการรักษาอุณหภูมิของวัคซีน ดังนั้น วัคซีนจึงถูกจัดเก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อการควบคุมอุณหภูมิ และในแต่ละกล่องมีการบรรจุน้ำแข็งแห้งเพื่อควบคุมอุณหภูมิสำหรับการใช้งานในสถานที่ต่างๆ ที่ไม่มีจุดจัดเก็บรักษาระดับอุณหภูมิได้ตามที่กำหนด นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิพร้อมด้วยเทคโนโลยี GPS ภายในบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง เพื่อสามารถทำการตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่องตลอดเส้นทางการขนส่ง

การเก็บวัคซีนไฟเซอร์นั้น วานนี้ (29 ก.ค.64) ทาง นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเก็บวัคซีนไฟเซอร์ต้องเก็บในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียล และจะมีการสอนวิธีการผสมการฉีดวัคซีน เพราะวัคซีนไฟเซอร์จะไม่เหมือนวัคซีน 2 ชนิดที่ประเทศไทยใช้มาก่อนหน้านี้ทั้งแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวคที่สามารถดูดจากขวดและเก็บรักษาที่ 2-8 องศาเซลเซียลก็สามารถนำมาฉีดประชาชนได้

ทั้งนี้ วัคซีนจะอยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 4 สัปดาห์ เมื่อนำออกมาต้องรีบใช้ และการใช้จะแตกต่างกัน โดยต้องมีการผสมน้ำเกลือ เพราะเป็นวัคซีนเข้มข้น  จึงต้องผสมน้ำเกลือ  โดยต้องผสมให้ได้ตามสัดส่วนและดูดจากขวดใหญ่ไปฉีดให้ประชาชน ใน 1 ขวดจะฉีดได้ 6 คน  จึงต้องมีการเตรียมการทั้งการเก็บรักษา การผสมวัคซีน

สำหรับกรณีสหรัฐอเมริกาจะบริจาควัคซีนไฟเซอร์อีก 1 ล้านโดส รวมเป็น 2.5 ล้านโดส ให้ประเทศไทยเพิ่มเติมนั้น คงต้องรอการยืนยันอย่างเป็นทางการ ซึ่งวานนี้ ทางเพจเฟซบุ๊ก U.S. Embassy Bangkok ระบุว่า "เรากำลังจะส่งมอบวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1.5 ล้านโดส จริง ๆ เป้าหมายคือการบริจาครวม 2.5 ล้านโดส แต่การส่งมอบล็อตแรกคือ 1.5 ล้านโดส สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของเราสำคัญเสมอมาและเสมอไป" วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ แทมมี่ ดักเวิร์ธ

BUGABOO NEWS
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก DHL

























ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark