ข่าวในหมวด ข่าว 7 สี

เปิดตัวเลขภาษีที่ดินเกษตรกรรม ต่ำ จนนายทุนขอเอี่ยว

เจาะประเด็นข่าว 7HD - การปลูกกล้วย อ้อย มะนาว ตามที่ดินรกร้าง เพื่อเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีที่ดิน ต้องปลูกแค่ไหน ถึงเรียกว่าทำการเกษตร เราไปหาคำตอบมาให้แล้ว

หลังจากเมื่อวานนี้เราได้เสนอเรื่องที่เอกชนรายหนึ่ง ปลูกกล้วย 10,000 ต้น บนที่ดินรกร้าง ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหาร เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว และนำผลผลิตมาสนับสนุนครัวของบริษัท แต่ก็มีหลายกระแส บอกว่า นี่คือ กลยุทธในการเลี่ยงการเก็บภาษีที่ดิน จนมีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ มาแสดงความคิดเห็นตั้งคำถามเรื่องของการใช้ที่ดินจำนวนมาก

ซึ่งตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ระบุไว้ว่า ที่ดินเกษตรกรรมจะมีการเสียภาษีน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับที่ดินชนิดอื่น

ส่วนจะเข้าข่ายใช้ที่ดินแบบไหน ถึงจะเป็นที่ดินเกษตรกรรม ตามประกาศกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม จะพบว่า มีการระบุเอาไว้ชัดว่าที่ดินเกษตรกรรม คือ ที่ดินที่ถูกนำไปใช้ในการประกอบเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่น ได้ตามอัตราขั้นต่ำที่กำหนดเอาไว้ในประกาศกระทรวง พูดง่าย ๆ คือ หากทำเกษตรได้ตามอัตราที่กำหนด เจ้าของที่ดินก็จะสามารถจ่ายภาษีที่ดินในอัตราสำหรับที่ดินเกษตร ซึ่งต่ำที่สุดในบรรดาภาษีที่ดินทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้มีการแปลงพื้นที่รกร้างเป็นพื้นที่เกษตรกันเป็นจำนวนมาก

กรณีของการปลูกกล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว่า มีการระบุเอาไว้ชัดเจนว่า จะต้องมีการปลูกมากกว่า 200 ต้น/ไร่ จึงจะเข้าข่ายว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

สำหรับพืชอื่น ๆ มีการกำหนดขั้นต่ำเอาไว้แตกต่างกันไป อย่าง กาแฟอราบิก้า 533 ต้น/ไร่, เงาะ 20 ต้น/ไร่, ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่, มะขามหวาน 25 ต้น/ไร่, มะนาว 50 ต้น/ไร่ และยางพารา 80 ต้น/ไร่

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark