ข่าวในหมวด ประเด็นเด็ด 7 สี

ประเด็นเด็ดเศรษฐกิจ : กฎหมายสุราก้าวหน้า พุ่งเป้าโค่นยักษ์ใหญ่ธุรกิจน้ำเมา

ประเด็นเด็ด 7 สี - วันนี้ กฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา มีผลบังคับใช้แล้วเป็นวันแรก สาระสำคัญ คือการเปิดทางให้ ผู้ผลิตสุราขนาดเล็ก ต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน สามารถผลิตสุราได้แบบไม่ผิดกฎหมาย ภาพดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับการเสนอกฎหมายสุราก้าวหน้า ที่เพิ่งจะเริ่มเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่สุดท้ายถูกคว่ำไม่เป็นท่า เดี๋ยวคุณณัฐชนน จะมาพูดคุยเรื่องนี้ ในประเด็ดเด็ดเศรษฐกิจ

ว่าไปแล้วกฎกระทรวง ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้สด ๆ ร้อน แถมยังปาดหน้าแซง ร่างการนำเสนอร่างกฎหมาย สุราก้าวหน้าที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อีกด้วย มุมหนึ่งก็มองได้ว่า การประกาศกฎกระทรวง เหมือนเป็นการเปลี่ยนล็อก เพื่อปัดตกกฎหมายฉบับนี้ ก็มีความเป็นไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎหมายสุราก้าวหน้า ที่นำเสนอโดยแกนนำพรรคก้าวไกล อดีตนักต้มเบียร์คราฟท์ คือการผลักดันให้ประเทศไทยเปิดกว้าง การผลิตและจำหน่ายเครื่องดองของเมา ทำลายกลไกการผูกขาดจากเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่ 2 รายในขณะนี้ พาคุณผู้ชมมาดู ธุรกิจที่เรียกกันว่า ธุรกิจน้ำเมาในประเทศไทย ทุกวันนี้มีเจ้าเล็กเจ้าน้อยเต็มตลาด แต่ยักษ์ใหญ่ที่รู้จักกันดี และครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด และยังงัดกลยุทธ์ต่อสู้กันแบบไม้เบื่อไม้เมา มี 2 ยักษ์ใหญ่ นั่นก็คือ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด มหาชน หรือ เครือช้าง และบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด หรือ เครือสิงห์ นั่นเอง

ยอดขายแบ่งเป็นสุรา 47.8% เบียร์ 41.3% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 6.3% อาหาร 4.7% มีธุรกิจที่กำจัดทิ้ง 0.1% ผลประกอบการ 3 เดือนแรกของปีนี้พุ่งไปกว่า 77,000 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ยังคงมามาจากธุรกิจสุรา

ถัดมาธุรกิจ เครือสิงห์ ทั้ง 2 บริษัทแตกไลน์ธุรกิจ ไม่ไกลกันมากนอกจากเครื่องดื่ม ก็มีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย มาดูรายได้สุทธิ ของบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด กันบ้าง ปี 2564 เค้าแยกรายได้ เป็น กลุ่มเครื่องดื่ม สุรา เบียร์ ซึ่งกวาดรายได้รวมไปกว่า 10,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 5,100 ล้านบาท

ส่วนบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น รายได้รวม 4,200 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 3,500 ล้านบาท ยังไม่รวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกกว่า 8,300 ล้านบาท ทั้งหมดคือผลประกอบการของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ธุรกิจน้ำเมาของไทย รวม ๆ แล้ว ผลประกอบการทั้ง 2 บริษัท ร่วม ๆ แสนล้านบาท ครองส่วนแบ่งทางการตลาดไปประมาณ 98% แน่นอนว่าหากกฎหมายผ่านสภา ผลกระทบย่อมเกิดขึ้น

สิ่งที่น่าเป็นห่วง อาจไม่ใช่ที่การแข่งขันของภาคธุรกิจ ย้อนกลับมามองใกล้ตัว ทั้งสุขภาพ และสุขภาวะ ซึ่งในช่วงที่ร่างพรบ.สุราก้าวหน้ายังไม่ผ่าน แต่ความสูญเสียก็เกิดขึ้นแล้วอย่างมากมายมหาศาล ทั้งความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ความสูญเสียจากโรคร้าย ที่ล้วนมีต้นตอมาจากสุราและเครื่องดื่มมึนเมาทั้งสิ้น

แม้ ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า วันนี้จะถูกตีตกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่สามารถตีเสนอได้อีกในสมัยการประชุมนี้ แต่ในสมัยการประชุมหน้า ต้องรอลุ้นกันว่าจะมีการผลักดันกฎหมายนี้เข้าสู่การพิจารณาอีกหรือไม่ และสุดท้ายใครจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากเรื่องนี้


น่าติดตามดูว่า การผลักดันกฎหมาย หวังปลดล็อกตลาดน้ำเมา จะเข้าสู่สภาฯในรูปแบบใด ท้ายที่สุดใครกันแน่ที่เสียประโยชน์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามต่อ

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark