ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

ประวัติ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นักการเมืองคนดังแห่งสมุทรปราการ เสียชีวิตในวัย 55 ปี


จากกรณีนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ถูกนำตัวส่ง รพ.บุรีรัมย์อย่างเร่งด่วนเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังวูบหมดสติขณะซ้อมแข่งรถยนต์ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ ท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน โดยนายชนม์สวัสดิ์ ได้รักษาตัวอยู่ในห้อง ไอซียู อาคารเฉลิมพระเกียรติ รพ.บุรีรัมย์ ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์จากโรคลมแดด ท่ามกลางความโศกเศร้าของญาติมิตร และคนในครอบครัว

อ่านข่าว : เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิตแล้ว หลังวูบขณะซ้อมแข่งรถ

สำหรับประวัติ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ นั้น

เกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2511 จบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อายุ 55 ปี เป็นบุตรของ วัฒนา อัศวเหม นักการเมืองชื่อดัง  เคยดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ กับ จันทร์แรม อัศวเหม มีพี่ชาย 2 คน พิบูลย์ อัศวเหม และ พูลผล อัศวเหม

ชนม์สวัสดิ์ สมรสครั้งแรกกับ นันทิดา แก้วบัวสาย นักร้องชาวไทย ลูกสาวด้วยกัน 1 คน และต่อมาเมื่อหย่าขาดจากนันทิดาแล้ว ก็ได้สมรสอีกครั้งกับ เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ แต่ก็ยังปรากฏภาพความสัมพันธ์ในครอบครัวของชนม์สวัสดิ์ นันทิดา และบุตรสาว รวมทั้งในปี 2563 เขายังสนับสนุนให้ นันทิดา แก้วบัวสาย ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อีกด้วย

ในปี 2564 นายต่อศักดิ์ อัศวเหม ลูกพี่ลูกน้อง​ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

การทำงาน

ชนม์สวัสดิ์ เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านธุรกิจการเกษตร และด้านน้ำมันเชื้อเพลิง เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และเขาเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาถูกสั่งปลดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ชนม์สวัสดิ์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคมหาชน เป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในปี 2551 และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ

ชนม์สวัสดิ์ เคยถูกจำคุกในคดีทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ ปี 2542 ซึ่งศาลฎีกาตัดสินเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ต่อมาได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 (3) ของพระราชทานอภัยโทษพระราชกฤษฎีพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งได้ลดวันต้องโทษ 1 ใน 4 ของโทษที่เหลือ เมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

BUGABOONEWS

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark