ข่าวในหมวด ประเด็นเด็ด 7 สี

ประเด็นเด็ดเศรษฐกิจ : เปิดโครงสร้างค่าไฟฟ้าไทย

ประเด็นเด็ด 7 สี - ชี้แจงกันแทบจะทุกฤดูร้อน เป็นปัญหากันทุกปีสำหรับค่าไฟฟ้า ยิ่งปีนี้เสียงประชาชนยิ่งดังมากขึ้น แนวทางการแก้ปัญหาของพรรคการเมืองก็หลากหลาย มีทั้งที่ทำได้ และดูเหมือนจะทำได้ยาก วันนี้เราจะพาคุณผู้ชมไปย้อนดูโครงสร้างค่าไฟฟ้าของไทย ในประเด็นเด็ดเศรษฐกิจ

โครงสร้างค่าไฟฟ้ามีความซับซ้อน การจัดเก็บค่าไฟฟ้าแต่ละงวด พิจารณาทั้งจากต้นทุน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ซึ่งเจ้าค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะค่าพร้อมจ่าย ดูเหมือนจะเป็นตัวเจ้าปัญหา

การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในกระบวนการผลิต หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 53% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด

โดยก๊าซธรรมชาติที่ว่า มากจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งแหล่งราคาถูกที่สุดเพราะเป็นของเราเอง แต่ก็ใช่ว่าปริมาณจะมีเพียงพอ ทำให้เราต้องพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ และอีกแหล่งที่มา คือ การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ตัวนี้เป็นตัวแปรสำคัญ เพราะช่วงที่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ราคาเชื้อเพลิงทุกชนิด แพงขึ้นยกแผง โดยเฉพาะราคาก๊าซ LNG ที่เคยอยู่ในระดับ 7-9 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู พุ่งเป็นเกือบ 20 ดอลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู หรือพุ่งขึ้นเท่าตัว เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งพรวดพราด

และไม่ใช่แค่ต้นทุนของแหล่งเชื้อเพลิง ยังมีต้นทุนอื่น ๆ ด้วย 1 ในนั้น ก็อาจจะเป็นการที่ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินไป เพราะก่อนหน้านี้ หวั่นเกรงเรื่องกำลังการผลิตอาจจะไม่เพียงพอความต้องการ กระทั่งทำให้ทุกวันนี้ ไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรอง สูงถึง 60% ตรงนี้กลายเป็นการสร้างภาระให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ต้องจ่ายเงิน เป็นค่าเตรียมความพร้อมในการเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบตามสัญญา เพื่อที่ก่อนหน้านี้มองว่า จะเป็นแรงกระตุ้นให้เอกชนผลิตไฟฟ้าออกมานั่นเอง เป็นค่าใช้จ่ายที่ กฟผ. ต้องจ่ายให้เอกชน เมื่อมีการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ตามเงื่อนไข สัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า โรงไฟฟ้าเอกจะชนจะจ่ายไฟเข้าระบบหรือไม่ กฟผ. ก็ต้องจ่ายค่า AP อยู่ดี

นอกจากนี้ ทั้ง 3 การไฟฟ้า ได้แก่ กฟผ., การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก็ยังมีภาระที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบของค่า Adder ให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก บางรายจ่ายค่า Adder ในอัตรา 6-8 บาทต่อหน่วย ทั้งหมดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพง นอกเหนือจากค่าเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานมองว่า ประเด็นนี้ ถึงเวลาต้องทบทวนกันแล้ว
 
นอกจากการเจรจาลดค่าพร้อมจ่าย ในส่วนของภาคเอกชน นำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า หากสามารถย่นระยะเวลาการพิจารณาค่าไฟฟ้า จากที่กำหนดทุก ๆ 4 เดือน ให้เหลือเพียง 2 เดือน ก็น่าจะสะท้อนราคาต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่แท้จริงได้ ทั้ง 2 แนวทาง จะทำให้ค่าไฟฟ้า ลดลงได้มากทีเดียว ที่ผ่านมากภาคเอกชน ก็เรียกเรียกร้องให้รัฐบาล และหน่วยงานที่กำกับดูแลค่าไฟฟ้า หาแนวทางปรับลดค่าไฟฟ้าลงอีก เพื่อทำให้ไม่ต้องปรับขึ้นราคาสินค้า ที่จะส่งผลกระทบไปทุกหย่อมหญ้านั่นเอง

ทั้งหมดนี้ เป็นฉบับย่อ ๆ เรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้า วันพรุ่งนี้ จะไปส่องใบแจ้งชำระค่าไฟฟ้ากันว่า มีรายละเอียด หรือการไฟฟ้าคิดค่าไฟฟ้าอย่างไรกันบ้าง

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark