ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

นายกสมาคมวิศกรฯ ชี้ แผ่นดินไหวรอยเลื่อนสะกาย มีแววรุนแรงเพิ่มในอนาคต พร้อมแนะวิธีรับมือ


ศ.ดร.อมร พิมานมาศ จากคณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ออกมาชี้ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ 19 มิถุนายน 2566 ที่สร้างความแตกตื่นให้กับคนไทย ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา  ขนาด 6 รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงกทม.-ปริมณฑล มาจากรอยเลื่อนสะกายนั้นเอง

โดยทาง ศ.ดร.อมร ได้ออกมาเขียนวิเคราะห์ว่า สำหรับพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมลฑล แม้ว่าจะไม่มีรอยเลื่อนอย่างชัดเจน แต่ก็มีชั้นดินอ่อน (Soft soil) ซึ่งสามารถขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวระยะไกลได้หลายเท่า จึงจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงแผ่นดินไหวอีกพื้นที่หนึ่งของประเทศ โดยรอยเลื่อนที่อาจส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครมีด้วยกัน 3 แหล่งคือ
1.รอยเลื่อนทางภาคตะวันตก ได้แก่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ถึง 7.5 แมกนิจูด
2.รอยเลื่อนสะแกง หรือสะกาย ในเมียนมา  อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ถึง 8.5 แมกนิจูด
แนวมุดตัวสุมาตรา อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ถึง 9 แมกนิจูด โดยแนวมุดตัวสุมาตรานี้ อาจทำให้เกิดสึนามิซ้ำได้อีกในอนาคต

อาคารที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว ได้แก่

2.1 อาคารที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน
2.2 อาคารที่ก่อสร้างจากอิฐล้วน โดยไม่มีคาน และเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
2.3 อาคารที่ชั้นล่างเปิดโล่ง
2.4 อาคารที่ใช้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ไม่ได้ออกแบบอย่างถูกต้อง
2.5 อาคารที่มีรูปทรง หรือรูปร่างผิดปกติหรือไร้สมมาตร
2.6 อาคารที่ทำการต่อเติมโดยผิดหลักวิศวกรรม


แนวทางการรับมือแผ่นดินไหวในประเทศไทย

หากพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยแล้ว พบว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงของพื้นที่ทางธรณีวิทยาในระดับต่ำถึงปานกลาง แต่การเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว ยังทำได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างอาคาร โดยเฉพาะอาคารเก่า ยังไมพบการเสริมความแข็งแรงให้อาคารต้านแผ่นดินไหวอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนในเรื่องความหนาแน่นของประชากร ในบางพื้นที่ของประเทศไทยก็เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความสูญเสียที่เกิดจากแผ่นดินไหว ประเทศไทยจึงควรเตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้า โดยควรคำนึงแนวทางการรับมือแผ่นดินไหว 4 ด้านคือ
5.1    ด้านกฎหมาย ควรปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมอาคารที่สูงไม่เกิน 15 ม. ในพื้นที่เสี่ยงภัย และบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยแผ่นดินไหวอย่างเคร่งครัด
5.2    ด้านการศึกษา ควรเร่งศึกษารอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศ เช่น รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา และรอยเลื่อนอื่น ๆ ที่มีพลังอีก 14 รอยเลื่อน
5.3    ด้านอาคาร และโครงสร้าง ควรจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีความเสี่ยง และเร่งเสริมกำลังอาคารเหล่านั้น โดยเฉพาะ โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ราชการที่สำคัญ
5.4    ด้านส่วนราชการ ควรจัดให้มีหน่วยงานที่บูรณาการงานด้านแผ่นดินไหว สึนามิ และดินถล่ม เพื่อกำหนดทิศทางงานด้านการจัดการภัยธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม

BUGABOONEWS
ขอบคุณข้อมูลจาก  Nithisart EITPR

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark