ข่าวในหมวด ประเด็นเด็ด 7 สี

ประเด็นเด็ดเศรษฐกิจ : ปลากระเบน ภัยการเงินรูปแบบใหม่

ประเด็นเด็ด 7 สี - ภาคสถาบันการเงิน พยายามอุดช่องโหว่ภัยทางการเงิน ที่มาในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมแจ้งเตือนภัยรูปแบบใหม่ ที่มีชื่อว่า "ปลากระเบน" ติดตามรายละเอียด ในประเด็นเด็ดเศรษฐกิจ

ภัยการเงินที่เรียกกันว่า ปลากระเบน ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ไม่ต้องโทรศัพท์สร้างกลอุบายหลอกลวง มิจฉาชีพทำงานง่าย แค่ส่งลิงก์เข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์มือถือเราเท่านั้น เพียงแค่เรากดดาวน์โหลดเท่านั้น เงินในบัญชี เราก็จะปลิวหาย ภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น

หลังจากที่หลายหน่วยงานพยายามเร่งอุดช่องโหว่ภัยทางการเงิน และช่วยกันแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้คนไทยรู้เท่าทันภัยทางการเงินที่มาในรูปแบบต่าง ๆ

กระทั่ง ก่อนหน้านี้เหมือนจะดี เพราะช่วง 3 เดือนแรกของปี 2566 แนวโน้มความเสียหายจากแอปพลิเคชันดูดเงินเริ่มลดลง แต่ปรากฎว่าหลังจากนั้นช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา แนวโน้มมันกลับเพิ่มขึ้นมาอีก เพราะมีภัยการเงินรูปแบบใหม่ โดยการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่เข้ามาในการพัฒนาแอปดูดเงิน โดยผ่านการส่งข้อความ หรือ SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอม (False Base Station) หรือที่เรียกว่าปลากระเบน บางทีมิจฉาชีพอาจจะใช้อุบายลวง มาในรูปแบบ เพื่อนทำทีต่อว่า "นายไปด่าทอเราเสีย ๆ หาย ๆ แบบนี้ได้ยังไง" พร้อมส่งลิงก์ให้เรา เข้าไปดาวน์โหลด เมื่อเรากดเข้าไปกลายเป็นแอปพลิเคชันดูดเงิน ความเสียหายเบื้องต้นจากวิธีการนี้ทะลุเกิน 200 ล้านบาทไปแล้ว

คราวนี้มาดู ตัวเลขความเสียหายจากแอปฯ ดูดเงิน นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม ปี 2565 มีมูลค่าราว 182 ล้านบาท ถัดมาเดือนมกราคม 2566 ยอดความเสียพายเพิ่มเป็น185 ล้านบาท, เดือนกุมภาพันธ์ เริ่มลดลง กระทั่งเหลือ116 ล้านบาท ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่พอเดือนพฤษภาคม ความเสียหายพุ่งเป็น 200 ล้านบาท

หลายหน่วยงานก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ต่างก็เร่งอุดช่องโหว่ ช่องว่าง หวังปิดทางมิจฉาชีพซึ่งแต่ละมาตรการสอดคล้องตามมาตรฐานสากล และการดำเนินการของสถาบันการเงินในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง แต่ไทยเข้มกว่านั้น เพราะมีการกำหนดแนวทางป้องกันเพิ่มเติม เช่น การจำกัด Mobile banking ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์ ยกระดับการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics มาตรการรักษาความปลอดภัยบน Mobile banking เพื่อป้องกันแอปพลิเคชันดูดเงิน รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ ภัยการเงินรูปแบบใหม่ และกำหนดมาตรการแจ้งเตือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย จะติดตามและประเมินผลของมาตรการต่าง ๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเพียงพอของมาตรการต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภัยการเงินที่มีการพัฒนาต่อไป

ซึ่งที่ผ่านมา แบงก์ชาติเอง ก็ได้สกัดภัยไซเบอร์ระบบสถาบันการเงิน ด้วยการอายัดบัญชี ซึ่งยอดก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายนที่ผ่านมา อายัดไปแล้ว 9,000 บัญชีต่อเดือน คาดว่ายอดอายัดบัญชียังคงเพิ่มต่อเนื่องจากมาตรการเข้มข้น วิธีจัดการภัยทางการเงินอย่างเบ็ดเสร็จ จะต้องบูรณาการความร่วมมือจากทุกคน ที่จะต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบและการป้องกันภัยทางการเงิน ที่มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันภัยรูปแบบใหม่ ๆ

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark