ข่าวในหมวด ข่าว 7 สี

ประเมิน 2 ปี มะเร็งรักษาทุกที่

เจาะประเด็นข่าว 7HD - สปสช. ประเมินผล 2 ปี นโยบายมะเร็งรักษาได้ทุกที่ พบว่า คนไข้ไปกระจุกตัว ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ มากขึ้น ก็มีความเห็นของแพทย์ว่า การรักษามะเร็งให้หายขาด ต้องรักษาแต่เนิ่น ๆ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดรับฟังความคิดเห็น ในหัวข้อ "2 ปี มะเร็งรักษาทุกที่ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จถ้วนหน้า" สรุปได้ว่า อันดับแรก คนไข้ ไม่ต้องทำให้คนไข้เดือดร้อนจากการส่งต่อ ไม่ต้องเหมารถไปโรงพยาบาล เพราะได้เปลี่ยนจากระบบใบส่งตัวมาเป็นระบบ ให้โรงพยาบาลติดต่อกันเอง ทำให้คนไข้ ได้รับส่งตัวจากโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรือ โรงเรียนแพทย์ มากขึ้น แก้ปัญหาที่ผ่านมาเวลามีคนไข้จากต่างจังหวัด เข้าไปรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ไม่ต้องกลับไปขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นทาง เมื่อมีนโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ทำให้สามารถรักษาต่อเนื่องได้ ไม่ต้องกลับไปขอใบส่งตัว

อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้คืออยากลดระยะเวลารอคอยในหน่วยบริการที่คิวยาว ไปสู่หน่วยบริการที่คิวสั้น และช่วยผู้ป่วยที่รักษาข้ามเขตไม่ต้องใช้ใบส่งตัว แต่ถ้า รักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ หรือ โรงเรียนแพทย์ อย่างเช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วต้องรอคิวนาน เช่น รอ 6 เดือน แต่ถ้าที่จังหวัดชลบุรี รอ 2 เดือน  ประชาชนจะมีทางเลือกว่าจะเลือกอย่างไหน

เรื่องนี้ พลโท นายแพทย์ วิชัย วาสนสิริ ประธานชมรมศัลยแพทย์มะเร็งประเทศไทย กล่าวว่า มีผู้ป่วยอีกจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสิ่งที่ดีที่สุดและมักไปโรงเรียนแพทย์ ทำให้คนไข้ไปกระจุกอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ทำให้คิวการรักษานานขึ้นและกระทบไปถึงผลการรักษา อัตราการรอดชีวิตก็ลดลง สิ่งสำคัญ คือเวลา ถ้าคนไข้มารับการตรวจวินิจฉัยรู้ว่า เริ่มเป็นมะเร็งระยะแรก ๆ ก็จะหายขาดได้มากขึ้นด้วย

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark