ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

หน้าหนาวใกล้แล้ว! อุตุฯ คาด ฤดูหนาวไทย เริ่มปลาย ต.ค.66 นี้ ถึง ก.พ. 67 ช้ากว่าปกติ-เย็นน้อย

ฤดูหนาวไทย

เตรียมเข้าหน้าหนาว อุตุฯ คาด ฤดูหนาวไทย เริ่มปลาย ต.ค.66 นี้ ช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ หนาวไปถึง ก.พ. 67 แต่จะมีอากาศหนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2566 ถึงการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ประมาณปลายเดือนตุลาคม 2566 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์  2567 ฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า

- บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มประมาณปลายเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 2 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567

- อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 21 - 22 องศาฯ  ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.5 องศาฯ (ค่าปกติ 19.9 องศาฯ ) และจะมีอากาศหนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.8 องศาฯ) ส่าหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 9 – 10 องศาฯส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณ กรุงเทพมหานคร 17 – 18 องศาฯ และปริมณฑล 15 - 16 องศาฯ

- ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 ถึงปลายเดือนมกราคม 2567

- ส่าหรับยอดดอยและยอดภูรวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้่าค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

- ส่วนภาคใต้จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากรวมทั้งน้่าล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ ส่าหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

- เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะท่าให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีก่าลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่น 3 – 4 เมตร

ลักษณะอากาศทั่วไปประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก)

ประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นบางแห่งทางตอนบนของภาค โดยจะมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ โดยจะมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทย

จากนั้นจนถึงปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นมากขึ้น โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางช่วง ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางช่วงส่วนมากทางตอนบนของภาค ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ และต่อเนื่อง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมประเทศไทย และก าลังแรงเป็นระยะๆ

ส่วนในระยะต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะอากาศอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ทั้งนี้เนื่องจาก บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีก าลังอ่อนลง

ภาคใต้

ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมกราคม มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง ส าหรับคลื่นลมทะเลอ่าวไทยจะมีก าลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร เนื่องจาก มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ

โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ประกอบกับ ในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ นอกจากนี้ ในบางช่วงมักจะมีมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงหรือพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้ จากนั้นจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ฝนจะลดลง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง และจะเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทน

BUGABOONEWS
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark