ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

ม.33 เช็กเงื่อนไข รับเงินบำนาญ จ่ายให้ผู้ประกันตนตลอดชีวิต! หลังเกษียณ


ม.33 เช็กเงื่อนไข รับเงินบำนาญ จ่ายให้ผู้ประกันตนตลอดชีวิต! หลังเกษียณ

วันที่ 16 ต.ค.66 กรณีการยื่นขอรับเงินชราภาพ หรือสิทธิกรณีชราภาพ ของผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 ที่ยังคงมีผู้ประกันตนบางรายเกิดข้อสงสัยว่า สิทธิกรณีชรานี้ สามารถรับเงินเป็นเงินก้อนได้หรือไม่ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นอย่างไร ล่าสุดทาง สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวไว้ดังนี้

ปัจจุบันการยื่นรับสิทธิกรณีชราภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โดยจะต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบต่อไป เงินสมทบที่ผู้ประกันตนนำส่งเข้ามา เรียกว่า เงินออมชราภาพ

ซึ่งในส่วนของเงินสะสมเงินชราภาพ เริ่มมีการเก็บเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป หากในระยะเวลาที่มีการเก็บเงินสมทบจะมีสิทธิได้รับเงินคืน แต่จะต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ถึงแม้ว่าสถานะจะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนไปแล้วก็ตาม จะต้องรอให้อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก่อนถึงจะสามารถยื่นเรื่องรับสิทธิได้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพ

กรณีเงินบำนาญชราภาพ
1. ต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
2. ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง)
3. ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

กรณีบำเหน็จชราภาพ
1. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
2. ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง)
3. จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

เงินชราภาพ ประกันสังคมได้รับเท่าไหร่?

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หากส่งเงินสมทบ 1-179 เดือน หรือไม่เกิน 15 ปี จะได้รับเป็นก้อนหรือเงินบำเหน็จชราภาพ ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนหรือ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพรายเดือนรับไปตลอดชีวิต โดยคำนวนเงินบำนาญชราภาพได้ที่สำนักงานประกันสังคมจ่าย 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งแต่ละคนจะได้รับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เช่น

- เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 10,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 2,000 บาท
- เงินเดือน 12,000 บาท รับบำนาญชราภาพ 2,400 บาท
- เงินเดือน 15,000 บาท รับบำนาญชราภาพ 3,000 บาท

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39  จะคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด  4,800 บาท หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับบำนาญชราภาพ  960 บาทต่อเดือนบาทไปตลอดชีวิต

หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน แต่ยังเป็นสมาชิก คือ ยังทำงานส่งเงินสมทบต่อเนื่อง รวมถึงผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ยังคงส่งเงินสมทบต่อไปอีก ในทุกๆ 12 เดือน สำนักงานประกันสังคมจะบวกเพิ่มอีก 1.50% ทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้น

อ่านข่าว : ได้รับเดือนละเท่าไหร่? ผู้ประกันตน ม.33-39 ควรรู้ สิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ

ขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับสิทธิ

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน   
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
2. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ยกเว้น บำนาญชราภาพ  คือ
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)  KTB                             
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY                            
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)   BBL                        
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  SCB                             
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK                            
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB                             
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK                       
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB                     
- ธนาคารออมสิน             
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)                       
- PromptPay (พร้อมเพย์)

ระยะเวลาและสถานที่ในการยื่นเรื่อง 
1.สำหรับผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีที่มีสิทธิรับกรณีชราภาพตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับกรณีชราภาพ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
2.หากเกินระยะเวลากำหนดกฎหมายอนุโลมให้ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ พร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่สามารถยื่นเรื่องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ ได้ 3 ช่องทางหลักดังนี้

-เว็บไซต์ของ สปส. www.sso.go.th
-แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ระบบ iOS และ Android
-ไลน์ Line Official Account ของ สปส. @ssothai

652cef454dd3b9.10199364.jpg

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark