ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

อ.เจษฎา โพสต์ บั้งไฟพญานาค เป็นฝีมือมนุษย์แน่นอน กระสุนส่องวิถียิงขึ้นจากฝั่งลาว


ช่วงนี้เป็นวันออกพรรษา เทศกาลหนึ่งที่เป็นที่เฝ้ารอกันทุกปีนั่นก็คือ ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่ง เมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) ก็มีการชมบั้งไฟพญานาคคึกคัก ลูกไฟลูกแรกผุดขึ้นเวลา 17.45 น. ที่บ้านท่าม่วง อำเภอรัตนวาปี จากนั้นเวลา 18.00 น. ลูกไฟอีกลูกผุดขึ้นที่บ้านต้อน อำเภอรัตนวาปี  โดยมีลูกไฟผุดที่จุดนี้ถึง 29 ลูก นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นอีกหลายจุดในอำเภอรัตนวาปี และหน้าวัดไทย อำเภอโพนพิสัย นับรวมทุกจุดถึงเวลา 20.00 น. พบว่ามีทั้งสิ้น 61 ลูก

สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค นอกจากที่เคยได้ยินตำนานเกี่ยวกับพระพุทธศานาในวันออกพรรษาแล้ว ยังมีเรื่องเล่าจากท้องถิ่นที่กล่าวถึงเจ้าแม่สองนาง ที่ชาวบ้านจะบวงสรวงเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ตำนานกล่าวว่า เจ้าแม่สองนางเป็นพระธิดากษัตริย์ลาว องค์พี่พระนามว่า "มัคชี" ส่วนองค์น้องชื่อว่า "ศรีสุวรรณ" พอบ้านเมืองเกิดสงครามทั้งสองล่องเรือมาตามแม่น้ำโขงแต่เกิดเหตุล่มลงจุดนี้ ดวงวิญญาณของเจ้าแม่สองนางได้มานิมิตเจ้าอาวาสวัดหายโศกให้ทำศาลเพียงตา

ทางวัดจึงทำศาลขึ้น นอกจากเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนที่สัญจรไปมาแล้ว ยังมีความเชื่อว่า เจ้าแม่สองนางเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญให้ เกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคในจังหวัดหนองคายด้วย

อย่างไรก็ตาม ก็มีฝั่งวิทยาศาสตร์ ที่ออกมาชี้แจงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นฝีมือของมนุษย์ที่ทำขึ้นมา ซึ่งทาง อ.เจษฎา โพสต์สวนกระแส ระบุว่า กระสุนส่องวิถียิ่งขึ้นจากฝั่งลาว

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้เแชร์ภาพ บั้งไฟพญานาคผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant พร้อมระบุข้อความว่า ทฤษฎีเรื่องแก๊สพุ่งจากน้ำ

ระบุข้อความว่า "คำอธิบายทางดาราศาสตร์ ถึงการเกิด "บั้งไฟพญานาค" ว่าทำไมถึงน่าจะเป็นฝีมือมนุษย์"

สรุปสั้นๆ คือ  การที่บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นใน "วันออกพรรษา" นั้น เป็นสิ่งที่ตรงกับการกำหนดวันสำคัญขึ้นมาโดยมนุษย์ ตามปฏิทิน "สุริยจันทรคติ" ซึ่งไม่ได้เป็นวันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ .... และถ้ามีแต่มนุษย์ที่รู้จักวันออกพรรษา ก็ย่อมมีแต่มนุษย์ ที่ทำให้เกิดบั้งไฟพญานาคขึ้นได้ครับ

- เหตุการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลเดิมและเฟสดวงจันทร์เดิมของทุกปี แต่เกิดขึ้นในวันเดียวกันตามปฏิทินสุริยจันทรคติ แบบปฏิทินพุทธไทยเถรวาท ที่เราใช้กัน ซึ่งเป็นปฏิทินที่มีการนับเดือนตามดวงจันทร์ แต่มีการชดเชยวันที่หายไป ในทุกๆ ปี เพื่อให้เดือนเดิมกลับมาตรงกับปีในสุริยคติทุกครั้ง โดยในปี "อธิกมาส" นี้จะมีการเพิ่มเดือน8 ซ้ำ 2 ครั้ง ทำให้วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันออกพรรษา หรือวันลอยกระทง ไม่ได้เกินขึ้นในวันเดียวกันของทุกปี

- ทำให้มีหลายครั้ง ที่ "บั้งไฟพญานาค" ไม่ได้เกิดขึ้นในคืนที่จันทร์เต็มดวงที่สุด (15 ค่ำ เดือน 11) แต่กลับเกิดขึ้นในคืนหลังจากนั้น ... ซึ่งมีแต่เพียงมนุษย์เท่านั้น ที่ทราบว่า วันออกพรรษาที่กำหนดขึ้นนั้น จะเป็นวันที่เท่าไหร่กันแน่ ดังนั้น ถ้ามันเกิดขึ้นเฉพาะใน "วันออกพรรษาที่มนุษย์กำหนด" มันก็น่าจะมาจากเงื้อมมือของมนุษย์อย่างแน่นอน

BUGABOONEWS
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ Jessada Denduangboripant


ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark