ข่าวในหมวด ข่าวออนไลน์ News

หมอหมู วีระศักดิ์ โพสต์ถึงงานวิจัยล่าสุด PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อโรคพาร์กินสัน


วันนี้ (1 พ.ย. 66) หมอหมู หรือ รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้โพสต์ถึงงานวิจัยล่าสุด PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อโรคพาร์กินสัน

โดยหมอหมูได้ระบุข้อความว่า งานวิจัยล่าสุด ระบุ PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อโรคพาร์กินสัน มูลนิธิ Fox เพื่อการวิจัยโรคพาร์กินสัน กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา และสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ออกมาระบุว่า ‘PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน’

นักวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาแบโรว์ พบว่า ‘ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มีระดับ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มีระดับ PM 2.5 ต่ำ’

นักวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาแบโรว์ ยังระบุอีกด้วยว่า ‘จากการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า PM 2.5 สามารถทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหายของเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งเป็นกลไกที่ทราบกันดีว่าสามารถพัฒนาไปเป็นโรคพาร์กินสันได้

ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่ล้ำสมัย เป็นครั้งแรกที่สามารถยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างโรคพาร์กินสันกับ PM 2.5 ในสหรัฐอเมริกาได้ โดยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันกว่า 90,000 คน จากชุดข้อมูล Medicare เกือบ 22 ล้านคน

ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ‘มีความสัมพันธ์ระหว่าง การสัมผัส PM 2.5 ก่อนหน้านี้ กับ ความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสันในภายหลัง’

PM 2.5 เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน ที่เราสามารถป้องกันได้ โดยการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งต่างๆ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล การผลิตพลังงาน และการขนส่ง

วิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องตัวเองจาก PM 2.5 คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ PM 2.5 ให้มากที่สุด หากอาศัยอยู่ในบริเวณที่มี PM 2.5 สูง สามารถลดความเสี่ยงของได้โดย:

1. อยู่ภายในบ้านให้มากที่สุด
2. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปข้างนอก
3. ออกกำลังกายในที่ร่ม

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark