ข่าวในหมวด ข่าวประชาสัมพันธ์

ฟูจิฟิล์มเผยสถิติผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ตอกย้ำบทบาทสำคัญ

ฟูจิฟิล์มเผยสถิติผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ตอกย้ำบทบาทสำคัญของ
การตรวจคัดกรองในระยะแรกเพื่อลดการสูญเสีย
เปิดตัวเทคโนโลยีตรวจคัดกรองขั้นสูงจากญี่ปุ่นที่มอบผลการตรวจคัดกรองที่แม่นยำ


 
                 บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Total Healthcare Solution เผยสถิติที่น่าเป็นห่วงของโรคมะเร็งตับในประเทศไทยและทั่วโลก เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก เพื่อการวินิจฉัยที่ทันท่วงทีและป้องกันการสูญเสีย โดยบริษัทได้ตระหนักถึงภัยเงียบที่เกิดจากมะเร็งตับ เนื่องจากลักษณะของโรคที่ไม่มีอาการบ่งบอกชัดเจนและสังเกตเห็นได้ฟูจิฟิล์มจึงส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ โดยใช้อัลตราซาวด์ร่วมกับการตรวจด้วยสารบ่งชี้มะเร็งที่มีความจำเพาะสูงในเลือด เพื่อมอบผลการวินิจฉัยที่แม่นยำในการคัดกรองมะเร็งตับระยะแรก


                  สถิติที่น่าเป็นห่วงจากรายงานทะเบียนมะเร็งของไทย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยืนยันสถานการณ์ความรุนแรงของมะเร็งตับในประเทศไทย ด้วยรายงานผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 400 รายต่อวัน หรือ 140,000 รายต่อปี ทำให้มะเร็งตับเป็นโรคร้ายที่น่ากังวล ปัจจุบันบันพบว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในชายไทย โดยคิดเป็น 33.2% ของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ในขณะที่ผู้หญิงอยู่ในอันดับ 3 ที่ตัวเลข 12.2%1 ซึ่งในปี 2020 เพียงปีเดียว มีผู้ป่วยทั่วโลกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับถึง 905,677 ราย และคร่าชีวิตผู้คนถึง 830,180 ราย ทำให้มะเร็งตับยังคงติดอันดับสามในสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง และยังคงเป็นมาต่อเนื่องในปี 2566 ที่พบว่ามะเร็งตับยังคงเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับที่สาม โดยผู้ชายเสี่ยงกว่าผู้หญิงเกือบ 3 เท่า การบรรเทาสถานการณ์ความรุนแรงของโรคจึงถือเป็นภาระเร่งด่วนของวงการสาธารณสุขทั่วโลก2


                 นางสาวสุภัทรา สุภรัมย์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดระดับภูมิภาค (ผลิตภัณฑ์เพื่อการวินิจฉัยภายนอกร่างกาย) แผนกธุรกิจระบบทางการแพทย์ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ย้ำถึงสาเหตุที่มักจะตรวจพบมะเร็งตับได้ล่าช้า โดยกล่าวว่า “มะเร็งตับระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการ ส่งผลให้ตรวจพบมะเร็งล่าช้า ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที”

                การเฝ้าระวังมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) โดยทั่วไปในประเทศไทยมักจะใช้การอัลตราซาวด์ร่วมกับการตรวจเลือด เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งชนิด AFP (alpha-fetoprotein) แต่วิธีการเหล่านี้ก็มีข้อจำกัด เพราะอัลตราซาวด์ไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอเมื่อใช้ตรวจหามะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC ในระยะเริ่มต้น ทั้งยังต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก และยากที่จะได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำหากไม่มีนักรังสีวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ หากตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดทางร่างกายเช่น มีน้ำหนักเยอะก็อาจจะไม่ได้ภาพที่ชัดเจน และในโรงพยาบาลรัฐและพื้นที่ห่างไกลอาจไม่มีอุปกรณ์ที่ให้ผลตรวจที่แม่นยำ ในทางกลับกัน การตรวจเลือดโดยวิธีใช้สารบ่งชี้มะเร็ง AFP ที่ใช้กันโดยทั่วไปก็ไม่ช่วยในการตรวจพบมะเร็งตับชนิด HCC ในระยะแรก เช่นกัน เพราะไม่สามารถบ่งชี้มะเร็งได้ในระยะแรกได้อย่างแม่นยำ ข้อจำกัดเหล่านี้สะท้อนถึงความจำเป็นในการยกระดับการตรวจคัดกรองในประเทศไทย เพื่อให้สามารถตรวจเจอมะเร็งตับชนิด HCC ได้ตั้งแต่ระยะแรกและรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที


                มร. โคสุเกะ คิจิมะ Asia Pacific & India, Overseas Sales & Marketing Specialist (In Vitro Diagnostics Division จาก FUJIFILM Corporation เน้นย้ำเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ใช้ในการคัดกรองมะเร็งตับตามแนวทางของสมาคมโรคตับแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSH)  โดยกล่าวว่า“ JSH แนะนำใช้การอัลตราซาวด์ร่วมกับสารบ่งชี้มะเร็ง 3ชนิด ได้แก่ Lectin-reactive alpha-fetoprotein (AFP-L3), AFP และ protein induced by vitamin K absence or antagonist-II (PIVKA-II) เพื่อตรวจหามะเร็งตับชนิด HCC โดยเกณฑ์ทางการแพทย์ของสมาคมมะเร็งตับแห่งประเทศญี่ปุ่นในปี 2021 แนะนำให้ใช้สาร AFP, PIVKA-II และ AFP-L3 ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ โดยสาร AFP-L3 ซึ่งมีระดับสูงขึ้นในเลือดตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเกิดเนื้องอก จะช่วยในการตรวจหามะเร็งตับชนิด HCC ที่อาจตรวจไม่พบด้วยอัลตราซาวด์ ทำให้สาร AFP-L3 มีความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งตับในระยะแรก การพยากรณ์โรค และการให้คำแนะนำในการรักษา ด้วยเหตุนี้ทำให้ญี่ปุ่นมีอัตราการตรวจพบมะเร็งตับชนิด HCC ในระยะเริ่มต้นสูงขึ้น (มากกว่า 66%)3 ซึ่งเป็นการช่วยผู้ป่วยมะเร็งตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนถึงบทบาทที่สำคัญของ AFP-L3 ซึ่งเป็นสารบ่งชี้มะเร็งตับ HCC อย่างจำเพาะ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จากเทคโนโลยี microfluid chip เอกสิทธิ์ของฟูจิฟิล์ม”

                เพื่อลดอุปสรรคในการตรวจคัดกรองในประเทศไทย สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย (THASL) ร่วมมือกับฟูจิฟิล์มเพื่อในการทำวิจัย โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ร่วมมือกับ THASL และฟูจิฟิล์มในการดำเนินโครงการเพื่อประยุกต์แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งตับชนิด HCC ของญี่ปุ่น ความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแม่นยำของตัวบ่งชี้มะเร็งตับและเสริมประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งตับชนิด HCC ในประเทศไทย โดยการศึกษานี้จัดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมุ่งเน้นการใช้อัลตราซาวด์ร่วมกับ AFP-L3, AFP และ PIVKA II สำหรับการคัดกรองมะเร็งตับชนิด HCC ในประเทศไทย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับชนิดดังกล่าว

               “นอกเหนือจาก AFP-L3 ที่ผลิตในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสารบ่งชี้มะเร็งที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงสำหรับมะเร็งตับชนิด HCC แล้ว ฟูจิฟิล์มยังนำเสนอ 'μTASWako i30' ซึ่งเป็นโซลูชัน Fully Automated Immunoanalyzer ที่ตอบโจทย์การวินิจฉัยมะเร็งตับชนิด HCC โดยเฉพาะ โดยเครื่องตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้มะเร็งตับในเลือดแบบครบวงจรนี้เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและความแม่นยำ สามารถรายงานผลเลือดได้ภายใน 9 นาที และรายงานผลเลือดได้มากถึง 25 รายการต่อชั่วโมง นับเป็นอีกหนึ่งโซลูชันสำคัญที่เข้ามาเสริมทัพให้แก่โซลูชันด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ เพื่อลดการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ อันเกิดจากการวินิจฉัยที่ไม่แม่นยำ ทั้งยังมีส่วนช่วยยกระดับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับชนิด HCC ให้ค้นพบตั้งแต่ระยะแรกทั่วโลก” มร. โคสุเกะ คิจิมะ กล่าวเสริม

“การตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะแรกเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับมะเร็งตับ การใช้นวัตกรรมขั้นสูงของญี่ปุ่นไม่เพียงแต่พลิกโฉมการวินิจฉัยโดยโซลูชันทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังถือเป็นกุญแจดอกสำคัญในการปูทางสู่การรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อช่วยชีวิตผู้คนมากมาย” นางสาวสุภัทรา สุภรัมย์ กล่าวสรุป


ในฐานะผู้นำระดับโลกด้าน One-stop, Total Healthcare Solution ฟูจิฟิล์ม มุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็ง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการสูญเสียที่สามารถป้องกันได้ด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย สอดคล้องกับแผนเชิงคุณค่าแห่งความยั่งยืน 2030 (SVP2030) ของฟูจิฟิล์มเพื่อยกระดับวงการสาธารณสุขทั่วโลก

อ้างอิง
1. CH9 Airport Hospital (2022). สถิติโรคมะเร็ง ประเทศไทย, https://ch9airport.com/th/
2. American Society of Clinical Oncology (ASCO) (2023, Mar), Liver Cancer: Statistics, https://www.cancer.net/cancer-types/liver-cancer/statistics
3. Presentation by Prof. Masatoshi Kudo at Kindai University at METI-THASL project seminar in December, 2020

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark