ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

วิกฤต ล่ามภาษามือ ไทยขาดเเคลนหนัก ทั้งประเทศมีเพียง 178 คน

ล่ามภาษามือ

พม. ชี้ ไทยวิกฤต ขาดแคลนล่ามภาษามือ ทั้งประเทศมี 178 คน ควรมี 40,000 คน ผู้พิการขาดโอกาสสื่อสารเกือบครึ่งประเทศ 

ล่ามภาษามือ ขาดเเคลนขั้นวิกฤต นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้ ไทยเจอวิกฤตขาดแคนล่ามภาษามือ ปัจจุบนพบว่ามีล่ามภาษามือเพียง 178 คน จากสัดส่วนที่เหมาะสมควรมีล่ามภาษามือ 40,000 คน เร่งเตรียมจัดหลัดสูตรล่ามภาษามือเร่งด่วน

นายวราวุธ เผยว่า จำนวนคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อสารความหมาย ที่มีการจดแจ้งไว้กับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) เมื่อปี พ.ศ. 2552 – 2560 มีจำนวน 659 คนครับ (นี่แค่เฉพาะคนที่ได้จดแจ้งไว้นะครับ ผมเชื่อว่ายังมีอีก และเราจะพยายามเข้าถึงพวกเขาให้ได้มากที่สุด)  แต่ปัจจุบันพบว่า ประเทศไทยเรามีล่ามภาษามือที่จดแจ้ง จำนวน 178 คน โดยเป็นล่ามภาษามือหูดี 170 คน และล่ามภาษามือหูหนวก 8 คน โดยทั่วประเทศมีล่ามภาษามืออาศัยอยู่ใน 41 จังหวัด และไม่มีล่ามภาษามือ 36 จังหวัด ซึ่งเกือบจะครึ่งๆ ประเทศเลย และยังพบว่าปัจจุบันล่ามภาษามือมีการกระจุกตัวอยู่แค่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล
ดังนั้น ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็เท่ากับว่าจะมีพี่น้องประชาชนผู้พิการทางการได้ยิน ขาดโอกาสในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เกือบครึ่งประเทศเช่นกันครับ

วันนี้ผมจึงได้ผลักดันและชี้แจงประเด็นนี้ไว้ในหลายมิติ และวางแผนการแก้ปัญหาไว้ 4 ระยะ คือ
1. ระยะเร่งด่วน: "ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันออกแบบและพัฒนา" ซึ่งเราได้รับความร่วมมือจากสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, สมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย, สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ออกแบบหลักสูตรและจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐานล่ามภาษามือ
2. ระยะกลาง: "สนับสนุนสถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง" ให้รับนักศึกษาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านล่ามภาษามือ ให้กับผู้สนใจทั้งคนพิการและไม่พิการ และประสานกับสำนักงาน ก.พ. เพื่อกำหนดตำแหน่งล่ามภาษามือเป็นตำแหน่งขาดแคลน รวมทั้งมีค่าตอบแทนพิเศษให้ เพื่อบรรจุประจำอยู่ในศูนย์บริการคนพิการทั่วประเทศ
3. ระยะยาว: "คน พม. ต้องใช้ภาษามือได้" โดยให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวง พม. ได้เรียนหลักสูตรล่ามภาษามือเพื่อรองรับการทำหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
4. โอกาสเพิ่มเติมในอนาคต: การพัฒนาร่างภาษามือโดยใช้ AI หรือเทคโนโลยีต่างๆ มาทดแทน

ผมขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกส่วนที่ไม่ดูดายและร่วมหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้พี่น้องผู้พิการทางการได้ยินสามารถ "ได้ยินด้วยตา" กันถ้วนหน้า

BUGABOONEWS
ขอบคุณข้อมูลจาก FB : ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา


ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark