ข่าวในหมวด ข่าวออนไลน์ News

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เผยปี 2050 เครื่องบินอาจเจอหลุมอากาศรุนแรงมากขึ้น 40 %


นักวิชาการสิ่งแวดล้อม อธิบาย โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น ปี 2050 อาจเพิ่ม 2 เท่า เครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40 %

หลังเกิดเหตุการณ์เครื่องบินสายการบิน สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส ตกหลุมอากาศ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และ เสียชีวิต ต้องขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย เมื่อวานนี้ (21 พ.ค.67) 

ต่อมาทางสายการบิน ชี้แจงถึงสาเหตุของเหตุสะเทือนใจครั้งนี้ ว่า เกิดจากเครื่องบินตกหลุมอากาศ ทำให้ความสูงของเที่ยวบิน "SQ321" ตกลงมาจากระดับ 37,000 ฟุต เป็น 31,000 ฟุต ในเวลาเพียง 3 นาที หลังเจอสภาพอากาศเลวร้ายเหนือมหาสมุทรอินเดีย

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :  ซีอีโอสายการบิน "สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส" ขอโทษผู้โดยสารต้องประสบเหตุสะเทือนใจ

นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ออกมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า “โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร?” นายสนธิ อธิบายไว้ 4 ข้อ ว่า

1.เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตกหรือบินจากโลกตะวันตกมายังซึกโลกตะ วันออกมีโอกาสที่จะตกหลุมออากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นทำให้ลมกรดหรือJet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน

2. Jet Streams หรือลมกรดเป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูงประมาณ7.0 ถึง16กม.เหนือจากพื้นโลกมีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม.เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบินบินจากซึกตะวันตกมาทางซีกตะวันออกก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet streamจะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วยประ หยัดพลังงานและลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตกก็ควรบินหลบJet streamให้มากที่สุดเพราะจะสวนกระแสลมทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น

3.อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นเนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นทำให้ลมกรดหรือ Jet streamลดความ เร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่าอุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้นในแถบทวีปอาร์กติกซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกกำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยา กาศในบางช่วงมีความเร็วลดลงทำให้เกิดอากาศแปรปรวนในขณะที่อากาศปลอดโปร่ง(Clear Air Turbulance)มากขึ้น(ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ) เนื่องจากช่วง ที่ความเร็วของลมกรดลดลงจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในช่วงบริเวณดังกล่าวบางลง ซึ่งทำให้เกิด"หลุมอากาศ"ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกระทันหันทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อยอยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ

4.นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี 2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง40%

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark