คลิปที่เกี่ยวข้อง

วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน กับผลกระทบในวงการฟุตบอล | บ้าบอคอร์บอล EP.98

 
Podcast EP.98 : วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน กับผลกระทบในวงการฟุตบอล

ยูฟ่า ได้ตัดสินใจย้ายการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ฤดูกาลนี้ จากกรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ของรัสเซีย เนื่องจากความรุนแรงระหว่าง รัสเซียกับยูเครน ได้ทวีความรุนแรงขึ้น การประชุมฉุกเฉินขึ้นเมื่อวันอังคาร ซึ่งก่อนหน้านี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รอบชิงชนะเลิศต้องย้ายจากกรุงอิสตันบูล ในช่วงสองฤดูกาลที่ผ่านมา และการต้องเปลี่ยนสนามแข่งขันอีกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันเป็นสิ่งที่ ยูฟ่า ต้องการหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง แต่ปรากฏชัดว่าประเทศสมาชิกในยุโรปตะวันตกไม่อยากมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่อาจเชื่อมโยงกับรัฐบาลของ วลาดิเมียร์ ปูติน

มีกรณีศึกษาเกิดขึ้นเกี่ยวกับ นัดชิงชนะเลิศ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก เมื่อปี 2003 ที่จัดขึ้นในเมือง แมนเชสเตอร์ ไม่นานหลังจากการเข้ารุกราน ประเทศอิรัก โดยกองกำลังของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร และไม่ว่าความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละคนจะคิดอย่างไรเกี่ยวกับความชอบธรรมในความขัดแย้งทั้งสองครั้งนี้ และเป็นที่เข้าใจว่า ยูฟ่า ไม่มีหน้าที่ตัดสินว่าการกระทำทางทหารประเภทใดที่เป็นสิ่งถูกหรือผิด

แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองครั้งนี้ ก็คือ ประเทศที่ถูกบุกรุกในครั้งนี้นั้นเป็นประเทศของ ยูฟ่า เอง และเป็นประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกส่วนใหญ่ของ ยูฟ่า อีกด้วย ทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่แฟนบอลจากยุโรปตะวันตก จะเดินทางไปรัสเซีย เพื่อร่วมชมเกมนี้

ในสัปดาห์นี้เริ่มมีการนำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก บ้างแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีกฎว่าสโมสรจาก รัสเซียและยูเครน จะถูกแยกออกจากกันไม่ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันในการจับฉลากการแข่งขันใดๆ และล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้ยกเลิกเที่ยวบินในการเดินไปสเปน เพื่อลงเล่นกับ แอตเลติโก มาดริด ด้วยสายการบินแอโรฟลอต ของรัสเซีย ซึ่งเป็นสายการบินอย่างเป็นทางการของสโมสรอีกด้วย

การย้ายสนามแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในช่วงสองฤดูกาลที่ผ่านมา ช่วยลดความรู้สึกลงได้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมันได้แสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นด้และไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ยูฟ่า มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้สโมสรใดในนัดชิงชนะเลิศ ลงเล่นในบ้านของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือสนามของตัวเองก็ตาม แต่สำหรับสองสโมสรที่มาจากประเทศเดียวกันนั้น ทาง ยูฟ่า เองก็ไม่ต้องการให้แฟนบอลเดินทางข้ามทวีปเพื่อไปชมเกมเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีใครอยากให้นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต้องไปจัดไกลถึงกรุงบากู ของประเทศอาร์เซอร์ไบจาน และก็เช่นเดียวกัน ยูฟ่า เองก็ไม่ต้องการให้ นัดชิงฯ ระหว่าง เรอัล มาดริด พบกับ บาเยิร์น มิวนิค เกิดขึ้นที่เบอร์นาเบว เช่นเดียวกัน

นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก แล้วยังมีความวุ่นวายอื่นเกิดขึ้นในวงการฟุตบอลอีกเรื่อง นั่นคือ โปแลนด์ ที่มีโปรแกรมจะต้องเดินทางไปกรุงมอสโคว์ เพื่อเล่น ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนยุโรป ช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ ได้แจ้งว่าไม่ต้องการเดินทางไปแข่งที่ประเทศรัสเซีย รวมไปถึง สวีเดน และ สาธารณรัฐเช็ก ที่ผู้ชนะในคู่นี้มีโอกาสจะต้องลงเล่นพบกับ รัสเซีย ต่อด้วย ขณะที่ ยูเครน ก็ต้องลงเล่นรอบเพลย์ออฟด้วยเช่นกัน โดยจะไปลงเล่นที่สกอตแลนด์ ก่อนที่ผู้ชนะในนัดนั้นจะเดินทางไปแข่งขันต่อที่ ประเทศเวลส์ หรือ ออสเตรีย ต่อไป

ซึ่งยังคงมีโอกาสที่ ยูเครน และ รัสเซีย จะผ่านเข้ารอบสุดท้าย ของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ด้วยกันทั้งคู่ และมันไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับสองประเทศที่มีความขัดแย้งกัน จะต้องลงเล่นในทัวร์นาเมนต์เดียวกัน เพราะ ก่อนหน้านี้ อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์เหนือ และอาร์เจนตินา เคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่ประเทศสเปน เมื่อปี 1982 ด้วยกันมาแล้ว หลังจาก สงครามฟอล์คแลนด์ สิ้นสุดลง แต่เห็นได้ชัดว่า ฟีฟ่า ก็อยากจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์แบบนี้

ไม่ใช่แค่ ฟีฟ่า เท่านั้น Gazprom บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของ ยูฟ่า มาตั้งแต่ปี 2012 และเพิ่งต่อสัญญาใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านดอลลาร์ต่อปี ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมา ซึ่งสนามฟุตบอลในกรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ก็มีชื่อว่า Gazprom Arena โดยทางผู้บริหารของ Gazprom อย่าง อเล็กซานเดอร์ ดยูคอฟ ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการบริหารของทาง ยูฟ่า และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานสหภาพฟุตบอลของรัสเซีย ด้วย ซึ่งทำให้ คริส ไบรอันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอังกฤษ ได้ออกมาเรียกร้องให้ ยูฟ่า ตัดความสัมพันธ์กับผู้สนับสนุนรายนี้ด้วย

นอกจากนั้นยังมีประเด็นของ เชลซี แชมป์ยุโรปเมื่อฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งมีเป็นเจ้าสโมสร ก็คือ โรมัน อับราโมวิช เศรษฐีชาวรัสเซีย ที่เข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรตั้งแต่ปี 2003 ที่เริ่มได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่ประกาศโดยรัฐบาลอังกฤษเมื่อวันอังคาร แล้วด้วยเช่นกัน

ฟังรายการ บ้าบอคอร์บอล Podcast ได้ทั้ง 2 ช่องทาง
:: คลิกฟังทาง Soundcloud
:: คลิกฟังทาง Spotify

ติดตามรายการ บ้าบอคอร์บอล Podcast ทั้งหมดได้ทั้ง 3 ช่องทาง
:: ติดตามทาง >> Bugaboo.TV
:: ติดตามทาง >> Soundcloud
:: ติดตามทาง >> Spotify

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark