เงินทองของจริง

รีไฟแนนซ์ VS รีเทนชั่น ต่างกันอย่างไร ?

รีเทนชันเป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่รีไฟแนนซ์เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

รีไฟแนนซ์ คือ การขอสินเชื่อก้อนใหม่กับธนาคารที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อก้อนเดิม เอาเงินจากก้อนใหม่ไปปิดสินเชื่อเก่า แล้วย้ายมาผ่อนที่ใหม่ที่ดอกเบี้ยต่ำ

ในกรณีของการผ่อนบ้าน เวลากู้ 30 ปี จะมีดอกเบี้ยช่วง 3 ปี แรกที่เป็นดอกเบี้ยช่วง ทีเซอร์เรท ดอกเบี้ยช่วงนี้จะต่ำ จากนั้นจะลอยตัวไปอีก 27 ปี เมื่อจบ 3 ปี ก็จะมีบางคนอยากได้ดอกเบี้ยต่ำอยู่ ก็จะหันไปหาการรีไฟแนนซ์

แต่ก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่ง กู้กับแบงค์หนึ่ง 30 ปี 3 ปีแรกดอกเบี้ยต่ำ เข้าปีที่ 4-30 ดอกเบี้ยลอยตัว ไม่อยากได้ดอกเบีัยสูง ก็จะไปการรีไฟแนนซ์ที่ใหม่ ธนาคารเดิมก็จะมีการ รีเทนชั่น 

รีเทนชัน คือ การปรับเงื่อนไข การผ่อนชำระสินเชื่อกับธนาคารเดิม เพื่อไม่ให้ผู้กู้ไปรีไฟแนนซ์ที่ใหม่ ถ้าเกิดลูกค้าย้ายไป ก็จะไม่ได้อะไรเลย

ในกรณีบางกลุ่ม ครบ 3 ปี ไม่รีไฟแนนซ์ก็มี ก็อาจจะเจรจากับที่เก่า ดอกเบี้ยลอยตัว มีเงื่อนไขอย่างอื่นอีกไหม ถ้าเราเป็นลูกหนี้ที่ดี จ่ายดี จ่ายตรงเวลา ก็จะมีโอกาสที่จะถูกธนาคารดึงไว้ แล้วยอมลดดอกเบี้ยให้อีก 3 ปี

การรีเทนชัน
• การผ่อนชำระดี 
• เจรจาขอกับธนาคารเดิม 

ข้อดีของการรีเทนชัน
- ไม่ต้องยื่นกู้ใหม่
- ไม่ต้องตรวจเครดิตใหม่
- ไม่ต้องเสียค่าจดจำนองใหม่
รีไฟแนนซ์ vs รีเทนชัน
รีเทนชัน คือการปรับลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม

ข้อดี
• ไม่ต้องยื่นกู้ใหม่
• ไม่ต้องตรวจเครดิตใหม่
• ไม่เสียค่าจดจำนอง

ข้อเสีย
• ไม่สามารถปรับลดจำนวนงวดได้

ถ้าอยากลดจำนวนงวด สามารถใช้การรีไฟแนนซ์ได้



บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต เป็นเทคโนโลยีแรก ที่ทำให้เราสามารถใช้จ่ายกันแบบไม่ต้องจับเงินสด แต่การใช้บัตรนี้ก็เป็นช่องให้มิจฉาชีพคิดค้นวิธีที่จะเอาได้ง่ายขึ้น วันนี้เราจะมาบอกกันว่า ใช้บัตรเครดิต เดบิท  ยังไงให้ปลอดภัย

ตรวจสอบการทำธุรกรรมสม่ำเสมอ
หลายคนเห็ยยอดที่โดนเรียกเก็บของแต่ละเดือนก็จ่ายไปเลย หรือเป็นยอดที่ตั้งไว้ว่าให้ตัดจากบัตรได้เลย โดยไม่ตรวจสอบเลยว่ายอดทั้งหมดนั้นเป็นของเราจริงไหม
ระวังทุกครั้งที่ใช้บัตรผ่านเครื่องรูดบัตรของร้านค้า

ถ้าเป็นไปได้ก็ควรตามไปด้วยให้เห็นกับตาตอนที่รูดบัตรใช้จ่าย ว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงที่รูดบัตรหรือไม่
หลีกเลี่ยงการผูกบัตรกับแพลตฟอร์มต่างๆ เลี่ยงการ “ถูกแฮก”

หลายแพลตฟอร์มไม่มีการใช้ รหัส OTP เพื่อการชำระเงิน จึงไม่ปลอดภัยในการชำระเงิน ข้อมูลการชำระอาจรั่วไหลได้
อัปเดตระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ที่ใช้อยู่เสมอ

แค่ไม่ได้อัปเดตระบบปฏิบัติการในมือถือก็ กลายเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลการใช้บัตรได้ เพราะทางระบบจะมีการปรับปรุงเพื่อปิดช่องโหว่ ไม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงได้ง่ายๆ
เลือกใช้ mobile data แทน wifi ช่วยป้องกันการถูกแฮก

เครือข่ายในการทำธุรกรรมก็มีความสำคัญ เพราะเครือข่ายที่เป็น wifi โดยเฉพาะ wifi สาธารณะ อาจมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพ เข้ามาถึงอุปกรณ์มือถือของเรา
ปรับวงเงินให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง

ในกรณีที่ใช้บัตรเครดิต  หรือบัตรกดเงินสด ก็ควรเลือกวงเงินให้เหมาะ เท่าที่เราจะจ่ายไหว และจะป้องกันเมื่อถูกแฮก จำนวนเงินที่ออกไปจะไม่มากกว่าไปกว่าวงเงินของเราแน่นอน

ถ้าทำครบทั้ง 6 ข้อข้างต้นเเล้ว โอกาสที่จะ “ถูกแฮก” บัตรเดบิตหรือเครดิตก็จะลดลง เเต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ถูกเเฮกเลย ดังนั้น หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น แนะนำว่า ติดต่อธนาคารทันที รวมถึงอาจแจ้งความลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐานไว้ได้ด้วย

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark