เงินทองของจริง

แจกสูตรไม่ลับ! วิธีคำนวณวางแผนกู้เงินซื้อบ้าน รู้เอาไว้ไม่เสียหาย

ย้ำชัด ๆ! หากวางแผนกู้เงินซื้อบ้าน แยกให้ออกระหว่างสินเชื่อ top up - สินเชื่อที่อยู่อาศัย จ่ายดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ก่อนตัดสินใจต้องเช็คให้รอบคอบ 

เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ และ โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ชวนพูดคุยเรื่อง กู้เงินซื้อบ้าน หลายคนบอกว่า ความสำเร็จเล็ก ๆ คือการมีบ้านเป็นของตัวเอง บางคนเพิ่งมีบ้านจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเป็นหลังแรก จะวางแผนยังไงดีหากพร้อมกู้ซื้อบ้านแล้ว

โค้ช หนุ่ม เผยว่า นี่เรียกว่าเป็นสินเชื่อก้อนใหญ่ จำเป็นที่จะต้องรู้จักสินเชื่อบ้านกันก่อน อันดับแรกบ้านเป็นสินเชื้อที่ก้อนใหญ่มาก และมีภาระที่ยาวมากถึง 30 - 40 ปี เดี๋ยวนี้บางธนาคารให้ยาวถึง 40 ปีแล้วเวลากู้ซื้อบ้าน เราได้แค่บ้านเปล่า ๆ ยังไม่มีอะไรอยู่ข้างในสักชิ้น อุปกรณ์ต่าง ๆ โต๊ะ เตียง ต้องซื้อแยกเพิ่มเติม เพราะฉะนั้น มันจะมีเรื่องค่าตกแต่ง ค่าใช้จ่ายอะไรอื่น ๆ ตามมาอีกเยอะ คนที่จะวางแผนซื้อบ้าน ต้องรอบคอบให้ครบถ้วนและรอบด้าน

ตอนซื้อบ้านจะมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าโอน โดยปกติเขาจะแบ่งเปอร์เซ็นให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ถ้าซื้อบ้านโครงการ โครงการเขาจะดูแลให้ แต่ต้องระวังพวกบ้านมือสอง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายบางอย่างเป็นของผู้ขาย สามารถผลักให้ผู้ซื้อได้ถ้าหากว่าเซ็นสัญญาแล้วไม่ดู อย่างเช่นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรืออะไรต่าง ๆ เขาสามารถผลักมาที่เราได้เหมือนกัน อยู่ที่การเซ็นสัญญาก่อนซื้อขาย

พอซื้อมาแล้วก็จะโดนค่าตกแต่ง บวกเลขกลม ๆ ไว้ที่ 15 - 20 เปอร์เซ็น อย่างบ้าน ล้านนึงก็ต้องมีสองแสน บ้านเราซื้อมาแพง บางทีมันก็ต้องแมชต์กัน ซึ่งตรงนี้หลาย ๆ คนไม่ได้เตรียม แทนที่เราจะกู้สินเชื่อซื้อบ้านอย่างเดียว เราจะมีของแถม คือการมีสินเชื่ออีกก้อนนึง เรียกว่าสินเชื่อ top up หรือสินเชื่ออเนกประสงค์ ตรงนี้ต้องดูให้ดี เพราะว่ามันแยกคนละสัญญากับสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินชื่อ top up ระยะการผ่อนเวลาจะสั้นกว่า สินเชื่อบ้านอาจจะ 30 หรือ 40 แต่ สินเชื่อ top up ประมาณสัก 10 ปี ดอกเบี้ยก็คนละแบบกัน ก็จะแพงกว่าดอกเบี้ยบ้านเล็กน้อย บางที่ก็ทำสินเชื่อให้เหมือนกัน แต่ต้องอยู่ที่มูลค่าบ้าน ราคาขายถ้ามีส่วนต่าง มันก็อาจจะบวกเข้าไปได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้ากู้เต็มราคาบ้านไปแล้ว ตัวนี้ก็จะเป็นสินเชื่อ top up

ในเรื่องของค่าส่วนกลาง ปัจจุบันอาจจะมีเรื่อง ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ถ้าใครมีบ้านแค่หลังเดียวก็อย่าไปตกใจ เพราะถ้ามีบ้านหลายหลังก็จะมีเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะฉะนั้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ อยากให้คิดเอาไว้เลยว่าไม่ได้มีแค่บ้านเปล่า ๆ มา อย่างช่วงอายุสัก 20 - 30 บางทีก็มาตั้งโจทย์ว่า อยากจะซื้อหลังสุดท้ายแล้ว เอาหลังดี ๆ ไปเลย ซึ่งบางทีมันใหญ่เกินกำลังมากเกินไป

แต่หัวใจในการวางแผนจริง ๆ คือ กระแสเงินสด อยากให้เราทำตัวเลขรายรับ - รายจ่าย ปัจจุบันดู แล้วลองเปรียบเทียบ ถ้าเมื่อไหร่ที่มีบ้านหนึ่งหลังเข้ามาแล้ว จะมีรายจ่ายจิปาถะ ทำให้ตัวเลขกระแสเงินสดมันเปลี่ยนไปหรือเปล่า ให้คิดง่าย ๆ ถ้าซื้อบ้าน 1 ล้าน ค่าผ่อนก็จะประมาณสัก 6,000 บาท ถ้า 2ล้านก็ ผ่อน 12,000 บาท 3ล้าน ผ่อน 18,000 บาท ให้เอาตัวเลขนี้ใส่เข้ามา แล้วดูว่ากระแสเงินสดมันผิดปกติหรือเปล่า มันติดลบหรือไม่ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวบ้านที่เราอยากจะให้เป็นที่ที่อุดมด้วยความสุข จะกลายเป็นความทุกข์แทน พอได้บ้านมา ทุก ๆ 30 วัน มันต้องเหนื่อยมากแน่นอน อยากให้ดูเป็นแรก

ส่วนตัวอย่างที่สอง ถ้าวางแผนจะซื้อบ้าน อยากให้เตรียมเก็บเงินไว้บางส่วน ไม่ถึงกับต้องเป็นเงินดาวน์ อาจจะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไม่อย่างนั้นมันจะฉุกละหุก เบ็ดเสร็จทุกอย่าง อยากให้เตรียมไว้สักประมาณ 5 เปอร์เซ็น อาจจะวงไว้สักนิด ถ้ามีบ้าน 3 ล้าน ก็ให้มีเงินก้อนไว้ในมือบ้าง เผื่อจะหยิบจับทำอะไรมันก็จะง่ายขึ้น ไม่งั้นซื้อบ้านก็กู้ ค่าธรรมเนียมไม่พอกู้อีก ตกแต่งกู้หมดเลย ฉะนั้นอันมันก็จะเหนื่อยมากเกินไป

ติดตามรายการ เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark