เงินทองของจริง

โดนหมายศาลเรียกไม่ชำระหนี้! ทำอย่างไรดีหากเงินไม่พอจ่าย

แนะ 3 ขั้นตอน! หากถูกหมายศาลเรียกไม่ชำระค่าหนี้ เผยวิธี เจรจาต่อรองเจ้าหนี้ยังไงให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ และ โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ชวนพูดคุยเรื่องหนี้สิน ที่ลูกหนี้เกิดปัญหาไม่มีเงินพอที่จะจ่าย รู้ตัวอีกทีหมายศาลมาถึงหน้าบ้านแล้ว จะทำอย่างไรให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เจรจาต่อรองได้ลงตัวทั้งสองฝ่าย

โค้ชหนุ่ม เผยว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มเป็นหนี้ เมื่อเป็นหนี้แล้วเราจ่ายไม่ได้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะมีขั้นตอนการดำเนินการกับผู้ที่เป็นหนี้
ไม่ถึงขั้นไม่จ่าย แล้วจ้องจะยึดเลย อย่างนี้ยังไม่ใช่

ตามกระบวนการแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่ชำระหนี้ธนาคาร ผ่านไปแค่หนึ่งเดือนแล้วยังไม่มีเงินจ่าย ก็ยังไม่ต้องกลัว ทางบริษัทจะโทรมาติดตามทวงถาม ซึ่งขั้นตอนในการติดตามทวงถาม ก็จะมีเรื่องของค่าติดตามทวงถามด้วย มีดอกเบี้ยปรับ ทำให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก

เมื่อถูกทวงแล้วผู้เป็นหนี้ทำการจ่ายเงินเลย ก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่กรณีที่ถูกทวงแล้ว ไม่ยอมจ่าย เป็นแบบนี้ติดกันร่วม 3 เดือน ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าเป็นหนี้เสีย NPL ซึ่งมีโอกาสแล้วที่เขาจะฟ้องร้อง ในเรื่องของการฟ้องร้อง จะมีขั้นตอนตรงกลางอยู่นิดหน่อย อาจจะขอเจรจาปรับเงื่อนไขการผ่อน ซึ่งถ้าเจรจากันได้ก็ไม่ต้องขึ้นศาล

โค้ชหนุ่ม แนะนำ 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนแรก เป็นหนี้เสียกลุ่มไหน ถ้าเป็นหนี้เสียบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถไปติดต่อคลินิกแก้หนี้ ซึ่งสามารถปรับเงื่อนไขการผ่อนได้

ขั้นตอนที่สอง ถ้าเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถอะไรต่าง ๆ สามารถติดต่อพูดคุยกับสถาบันการเงินได้โดยตรง ซึ่งเงื่อนไขการเจรจาทำได้หลายแบบ แบบแรกคือแบบที่เราชอบแต่เขาไม่ชอบ คือการหยุดชำระ หรือขอพักหนี้ อาจจะเจรจาออกทางนี้ได้เหมือนกัน

กรณีขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย การจ่ายดอกเบี้ย ทางบริษัทจะชอบ เดือนนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่านี้ ไม่จ่ายต้นเลย เดือนหน้าก็จ่ายดอกเบี้ยเท่านี้ต่อ เพราะต้นมันไม่ได้ลด บางคนบอกว่าจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยไม่เห็นอนาคตเลย ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น การที่สมมติจ่ายค่างวดหมื่นนึง แล้วมาจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย แค่ 3,000 มันทำให้สภาพคล่องเงินกลับมา และมีโอกาสที่เงินจะเป็นปกติได้

ขั้นตอนที่สาม ขอลดเฉพาะดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยมันใกล้กับค่างวดมาก เช่นงวดบ้าน บ้านผ่อนหมื่นสอง ดอกเบี้ยแปดพัน พอลดลงมาแล้วมันจะไม่ค่อยเกิดผล แบบนี้สามารถขอปรับเงื่อนไขการผ่อนได้ เน้นการขอผ่อนต่ำ เช่นเคยผ่อนหมื่นสอง ขอผ่อน 4,000 ก่อนระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นผ่อนขึ้นไปเป็น 8,000 แล้วค่อย ๆ เขยิบขึ้นไป เพราะทุกอย่างสามารถต่อรองได้ หนี้เป็นระบบคู่สัญญา เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าหนี้กับลูกหนี้คุยกัน แล้วตกลงกันได้ถือว่าโอเคได้ทั้งหมด

โค้ชหนุ่ม กล่าวต่ออีกว่า หมายศาลมันจะมาก็ต่อเมื่อ ผู้เป็นหนี้ไม่ติดต่ออะไรกลับไปเลย เปลี่ยนเบอร์ไม่ยอมให้ทางบริษัทโทรมาทวงถาม มันจึงนำไปสู่กลไกสุดท้าย เพราะว่าเจ้าหนี้ก็อยากได้เงินคืน

สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้รับหมายศาล

1. ถ้าเจอหมายศาลให้ไปศาล เพราะยังเจรจาได้ จำเป็นอย่างมากที่ต้องไป เพราะถ้าไม่ไปจะเหลือคนคุยแค่เจ้าหนี้และ ผู้พิพากษา หากเจ้าหนี้มีหลักฐานว่าไปยืมเงินของเขา
2. หลักฐานที่ไม่โอนเงินคืนเจ้าหนี้เลย เพราะฉะนั้นมันครบองค์ประกอบแล้ว หากเจ้าหนี้อยู่กับผู้พิพากษาแค่สองต่อสอง เขาสามารถตัดสินได้เลย

ให้ลางานรอเลย แล้วเอาตัวเลขทางด้านการเงินของเรามาทำตัวเลขรายรับรายจ่าย ว่าไปคุยกับเจ้าหนี้ สามารถเจรจากับเขาได้แค่ไหน นั่นคือการอย่าไปรับเงื่อนทั้งหมด และอย่าไปกลัว เช่น ค้างอยู่แสนนึง ต่อไปนี้คุณต้องส่งเดือนละ 5,000 แล้วขานรับเลย พร้อมไปเซ็นยอมรับเงื่อนไข แบบนี้ไม่ได้ เพราะลูกหนี้เองมีสิทธิ์พูด เช่นขอเจรขาว่าขอปีแรก 3,000 ก่อนหรือไม่ แล้วค่อย ๆ ปรับเป็นขั้นบันไดแทน ในช่วงที่เราหยุดจ่ายหนี้ทุก ๆ ราย แสดงว่าเงินเราก็มีโอกาสจะเหลืออยู่ ก็ต้องสะสมรอไว้เพื่อจะได้คุยในวันนั้น ระหว่างที่เราไม่ได้จ่ายอะไรเลย ทำไมถึงไม่ลองคิดที่จะทำอะไรเพิ่มเติม

โค้ชหนุ่ม จึงสรุปให้ว่า หากหยุดจ่ายไปเลยแล้วรอคุยกันที่ศาล ต้องเตรียมตัวไว้อย่างดี ให้คิดตัวเลขรายรับรายจ่ายไว้รอ จะได้มีตัวเลขที่สามารถคุยกับเขาว่าเราสามารถจ่ายได้แค่ไหน หรืออาจจะมีเงินปิดจบกันได้เลย บางทีทางเจ้าหนี้ก็อาจจะมีส่วนลดให้ได้เหมือนกัน

ติดตามรายการ เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark