เงินทองของจริง

ถือบัตรเครดิตเยอะควรรู้! หนี้บัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำ-แบ่งจ่าย ต่างกันอย่างไร

ทำความเข้าใจ! เมื่อเป็นหนี้บัตรเครดิต สามารถเลือกแบบจ่ายขั้นต่ำ-แบ่งจ่าย ได้ไหมหากเงินไม่พอ

วิทย์ สิทธิเวคิน และ โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ชวนพูดคุยเรื่อง หนี้บัตรเครดิต ที่เราจะได้ยินศัพท์หลายๆคำ จ่ายขั้นต่ำก็ดี การแบ่งจ่ายก็ดี แล้วมันต่างกันอย่างไร จ่ายขั้นต่ำช่วยเราไม่ให้มีภาระมากจนเกินไป ส่วนแบ่งจ่าย คือการจ่ายเต็มจำนวนไม่ได้

โค้ชหนุ่ม กล่าวว่า จ่ายขั้นต่ำคือ รูปแบบที่จะช่วยเราไม่ให้มีภาระมากจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแต่เดิมรูดบัตรไป 10,000 บาท ครบรอบที่เราต้องจ่ายสามารถจ่ายเต็มจำนวน 10,000 ก็ได้ แต่ถ้าเกิดจ่ายไม่เต็ม ก็จะมีภาระดอกเบี้ย ซึ่งขั้นต่ำที่เขาย่อให้ได้คือ 10% ถ้า 10,000 ต้องจ่ายให้เขาอย่างน้อย 1,000 บาท แต่ปัจจุบันลดลงมานิดนึงเหลือ 5% เพราะด้วยสภาวะโควิด

กรณีที่ยืมเขามา 100 แต่ถ้าเราจ่ายเขาไปแค่ 5 นั้นหมายความว่าเหลืออีก 95 ค้างอยู่กับเขา ตรงนี้เนี่ยระบบบัตรเครดิตของบ้านเราก็จะมีการคิดคำนวน 2 ส่วนที่เป็นค่าคำนวณ คือ ค่าใช้วงเงิน เมื่อเอาเงิน 10,000 นึงไปใช้ ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้วงเงิน 10,000 อีกส่วนนึงคือ 9,500 ก็ต้องเสียดอกเบี้ยจากหนี้โครงการ

โค้ชหนุ่ม ยกตัวอย่าง เป็นหนี้บัตรเครดิต 16% ต่อปี มากหรือน้อยอยากให้ดูเงินฝาก ถ้าวันนี้หาเงินได้ สามารถออมเงินแล้วเอาไปฝาก แล้วได้ดอกเบี้ยเท่าไร เขาเรียกว่า 25 สตางค์ 50 สตางค์ เท่านั้นเอง แต่พอเรายืมเงินเขาแบบนี้ แล้วเราจ่ายเขาไม่เต็มจำนวน เราเสีย 16 บาท 100 เสีย 16 พอเทียบแล้วมันเป็นปริมาณที่ใหญ่พอสมควร

ในส่วนแบ่งจ่าย บางคนเขาอาจจะจ่ายเต็มจำนวนไม่ได้ ไปถึงขั้นว่า ขั้นต่ำก็มีปัญหา ถึงแม้ขั้นต่ำไม่น่ามีปัญหา เพราะว่า 100 นึง มันก็จ่าย 5 บาท มันไม่น่าจะมี เพียงแต่ว่ามนุษย์เรา มือถือก็ขั้นต่ำ โน๊ตบุ๊คก็ขั้นต่ำ ตู้เย็นทีวีที่บ้านก็ขั้นต่ำ แต่พอรวมกันสองพัน สามพัน สี่พัน พอรวมๆแล่วมันเยอะเลย แบบนี้ก็สามารถเจรจากับทางธนาคารตกลงได้เหมือนกัน ว่าขอพัก ขอแบ่งจ่าย ขอปรับรูปแบบการผ่อน เพียงแต่ว่าเราไม่ค่อยชิน เราจะชินแต่ว่า แม่ยืมเงินเขามาต้องคืนเขา แล้วกติกาเขาเป็นยังไงเราก็ต้องทำตามนั้น

ความจริงแล้วนี่เป็นระบบกู้สัญญา ดังนั้นคนที่จะคุยกันแล้วได้ผลดีที่สุด คือเราไม่จำต้องไปถามคนข้างบ้าน โต๊ะทำงานข้าง ๆ เป็นหนี้เยอะแล้วแก้ยังไง ถามเจ้าหนี้ เพราะไม่ได้มีหนี้ที่เดียว เรามีหนี้หลายที่ เราอาจจะขอปรับการจ่ายได้ไหม ลดสัดส่วน ปรับสัดสวนการจ่าย
หรืออีกแบบที่คนส่วนใหญ่ทำกันคือ การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว โดยหาสินเชื่อใหม่สักก้อนนึง แล้วไปปิด โปะหนี้ทุก ๆ ตัวที่มีอยู่ให้คลายเป็นศูนย์ แล้วกลับมาที่นี้ที่เดียว แต่วิธีนี้ไม่ใช่วิธีการแก้หนี้ตรง ๆ เพราะว่ามันแค่เปลี่ยนเจ้าหนี้ ถ้าเราเลือกสินเชื่อที่ดี คือสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าหนี้เดิมที่มี กว่าเดิมเกือบ ๆ สักครึ่งนึงยิ่งสบายเลย

โค้ชหนุ่ม ยกตัวอย่าง  เป็นเด็กคนหนึ่ง เด็กคนนี้ด้วยฐานเงินเดือนหมื่นกว่าบาท แต่มีบัตรเครดิตอยู่ 7 ใบ เรียกได้ว่าจะเป็นสมาชิกสมาคมธนาคารได้เลย พอเรารู้สึกว่ามีวงเงินอยู่กับมือ มันทำให้รู้สึกว่าพร้อมที่จะจับจ่าย เรามีอำนาจซื้อ สุดท้ายเรียบร้อยบัตรเต็มหมดเลย แล้วก็มาจากจ่ายขั้นต่ำทั้งนั้น พอไปถึงจุดนึง เดือนนี้ได้เงินเดือนมา เอาไปจ่ายขั้นต่ำของบัตรใบนี้ เสร็จแล้วพอจ่ายไป มันจะเหลือช่องอยู่นิดนึงในวงเงิน ก็กดออกมาใช้อีก สุดท้ายที่มันเกิดเรื่องขึ้นเมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ทีนี้เละ กระบวนทางการเงินเละหมดเลยแบบนี้มีอยู่เยอะ แต่เคสนี้โชคดีหน่อย มีสินเชื่อที่อยู่ในองค์กรเขาที่เอามาหมุนเวียนได้ เคสแบบนี้บัตร 7 ใบ ใช้เวลาสามปีกว่าจะเคลียร์หมด

โค้ชหนุ่ม จึงเตือนว่า อยากให้ลองเช็คตัวเอง ทุกวันนี้เราจ่ายขั้นต่ำหรือไม่ ถ้าจ่ายขั้นต่ำกับกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ที่เขาเรียกว่า เป็นหนี้บริโภค แสดงว่าเราต้องเริ่มยั้งมือ เป็นไปได้ไม่ควรจะกดเพิ่ม หนี้ที่มีต้องทยอยใช้ไปให้หมด เราอาจจะหาตัวช่วยตัวเร่งได้ คือ อาจจะใช้เรื่องสินเชื่อ ดอกเบี้ยของสินเชื่อใหม่ควรจะต่ำกว่าสินเชื่อเดิม เกือบครึ่งยิ่งดี อีกสินเชื่อเป็นสินเชื่อลดต้น ลดดอก แล้วก็ผ่อนได้ยา วๆ และ ต้องให้เรา ปิด โปะ หนี้ ได้ตลอดเวลา

หากมีหนี้หลายรายการ มีบัตรหลายใบ กู้สินเชื่อใหม่มาปิดเรียบร้อยแล้ว ยังไงก็ลองลดบัตรในมือลงบ้าง เดี๋ยวหนี้โยกมาทางนี้ บัตรว่างอีกแล้วก็กลับมาใช้จ่ายอีก ทีนี้มันจะกลายเป็นว่าจะมีหนี้ใหม่ที่สร้างเพื่อเคลียร์หนี้เดิม แล้วก็มีวงเงินที่สร้างหนี้ใหม่ได้อีก และข้อควรระวังคือการเพลา ๆ การใช้สินเชื่อด้วย

ติดตามรายการ เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark