เงินทองของจริง

ทำอย่างไรดี? เมื่อเป็นเสาหลักครอบครัว แล้วไม่มีเงินเหลือเก็บ

เมื่อเสาหลักของบ้าน บริหารจัดการเงินไม่ดีพอ จนไม่มีเงินเก็บ เผยข้อควรระวังของการบริหารเงิน หากไม่อยากหยิบยืม มีหนี้สิน

เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ และ โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ชวนพูดคุยเรื่องหัวหน้าครอบครัว อาจจะมีภาระเรื่องของค่าใช้จ่ายของทุกคนในครอบครัว ทำงานไปทำงานมาจับจ่ายใช้เงินสะพัด รู้ตัวอีกทีไม่มีเงินเก็บซะแล้ว จะบริหารการเงินอย่างไรให้มีเงินพอใช้จ่ายภายในครอบครัวและไม่ลำบากตัวเอง

โค้ชหนุ่ม กล่าวว่า ในทางการเงินกลุ่มนี้จะเรียกว่า “เดอะแบก” อาจจะดูแลด้วเองด้วย ดูแลคู่ชีวิตด้วย เด็กบางคนที่ยังเรียนไม่จบ มีคุณพ่อคุณแม่ด้วย การที่บริหารจัดการเงินไม่พอ ไม่มีเงินเก็บ ลุกลามไปถึงการหยิบยืม เพราะว่ารายได้ไม่สามารถเลี้ยงทุกคนได้ อยากจะให้ตัวเลขของการเงินครอบครัวสักนิดนึง เรื่องเงินจำไว้เรื่องนึงเลยห้ามคิดในหัว แต่ให้จดลงกระดาษ

มีเงิน 15,000 หรือ 20,000 กินข้าวทั้งเดือน 6,000 เดินทาง 3,000 อะไรหลาย ๆ อย่างไม่ได้เอามาบวกกัน จะรู้สึกได้ว่า 15,000 - 20,000 มันก็จัดการตรงนี้ได้ แต่พอรวม ๆ แล้วจริง ๆ มันเอาไม่อยู่ การเงินไม่สามารถคิดในใจ การเงินต้องเอาออกมากอง แล้วก็มาจัดการอีกที คนเราจะมีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่เสมอ

โค้ชหนุ่ม ยกตัวอย่างไว้ดังนี้ ข้อควรระวังของการบริหารเงิน
1. เอามาไล่เรียงก่อนว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างในแต่ละเดือน
2. ต้องรับความจริงว่า ไม่สามารถดูแล 4 - 5 ชีวิตไปพร้อม ๆ กันได้
3. ต้องระวังเรื่องการหยิบยืม พอเงินไม่พอแล้วไปหยิบยืม สุดท้ายมันจะแย่ลง คนจะคิดว่าเรานั้นเป็นททุก อย่าง วันที่เรายังหาเงินได้ทุกคนได้อยู่เขาก็จะหยิบยืมเรา แต่ถ้าวันนึงการเงินเราพัง มันจะพังกันทั้งบ้าน

เพราะฉะนั้นคำที่สำคัญที่สุดคือ การช่วยคนในครอบครัวช่วยได้ ดูแลคนในครับครัวได้ แต่อย่าเกินลิมิตตัวเอง  กิน ใช้ พื้นฐานอันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องดูแลกันอยู่แล้วในครอบครัว แต่ถ้าหาก กิน ใช้ พื้นฐานไม่พออาจจะต้องหารายได้เพิ่ม เป็นสิ่งที่ต้องมองต่อกันไป ถ้าเกิดมีภาระหนี้ เรื่องของการจัดการในส่วนของเจรจา การปรับ ลด งวดผ่อนเป็นสิ่งที่จะต้องดูแลตลอดเวลาไม่ให้มันเกินลิมิต ไม่เช่นนั้นมันจะเหนื่อยเกินไป

โค้ชหนุ่ม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หนี้นอกระบบอาจจะมีกลุ่มใกล้ตัวเพื่อยืมกัน กลุ่มใกล้ตัวไม่ใช่คนร้าย บางทีใจดีถึงขนาดให้ยืม 20,000 - 30,000 ว่างเมื่อไหร่ พร้อมเมื่อไหร่ค่อยมาคืน ไม่คิดดอกเบี้ยก็มี อีกแบบหนึ่งคือ อาจจะมีอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในปัจจุบันก็เห็น 5/เดือน 10/เดือน 20/เดือน ตรงนี้หากลองพูดคุยได้ก็ควรพูด ถ้าเป็นคนใกล้ตัว 10 ดอกละ100 10บาท ขอ 3 ได้ไหม มันก็เบาลงพอสมควร ให้บอกไปตรง ๆ ว่าจ่ายไม่ไหวจริง ๆ ข้อควรระวังอีกเรื่อง อย่าชุ่ย อย่ารับปากเขาชุ่ย ๆ พอรับปากไปแล้วไม่คืน จะเสียเพื่อนทันที

ในเรื่องของ ดอกเบี้ยแพง การติดตามดุเดือด จำเป็นอย่างมากควรหาสินเชื่อที่อยู่ในระบบ ยกตัวอย่างทั่วไปเช่น อาจจะเห็น 25% ต่อปี ดูมันอาจจะสูง แต่มันเป็นแบบลดต้น ลดดอก เราก็อาจจะโยกหนี้ที่มันอยู่นอกระบบมาอยู่ตรงนี้ ติดตามทวงถามก็ไม่โหดเท่า และก็ลดต้น ลดดอก ไม่ใช่ผ่อนแต่ดอก ถ้าเกิดจ่ายไม่ไหวจริง ๆ เจรจาพูดคุยได้ พอถึงจุดนึงเจ้าหนี้จะเริ่มกลัวเรา เพราะทวงเท่าไรก็ไม่ได้คืน

โค้ชหนุ่ม จึงยกตัวอย่างว่า มีน้องผู้หญิงคนหนึ่งอายุ 23 เงินเดือนสประมาณ 16,000 - 17,000  ทางที่บ้านก็ฝากความหวัง ตัวคุณแม่อายุประมาณ 46 ก็บอกว่าเลิกทำงานไปแล้ว เพราะว่าลูกเรียนจบ ก็จะรอให้ลูกเลี้ยง ทีนี้พอลูกตัวเองไม่ไหว ส่งที่บ้านด้วย ก็เริ่มกู้จากในระบบ พอไม่ไหวก็เริ่มออกไปกู้นอกระบบ สุดท้ายตอนจบเลี้ยงแม่ไม่ไหว ต้องโทรศัพท์ไปคุยกับแม่ว่า 5,000 - 6,000 จ่ายไม่ไหว ขอเปลี่ยนเป็นให้ 2,000 - 3,000 ได้ไหม แม่บอกงั้นขอ 2,000 มันก็เบาลงทันที จากนั้นก็ไปเจรจาเรื่องหนี้ในระบบ ปรับเรื่องการจ่ายหนี้นอกระบบ เริ่มหาอะไรทำเพิ่ม ก็ใช่เวลานานพอสมควรเหมือนกันกว่าจะเริ่มเคลียร์ทุกอย่างจบไปได้

โค้ชหนุ่ม ฝากถึงเสาหลักทุกคนว่า พยายามจัดทำแผนการใช้จ่าย แล้วดูความพร้อมของตัวเองว่าเราสามารถสนับสนุนครอบครัวได้มากน้อยแค่ไหน อย่าทำให้เกินกำลัง เพราะมันจะเป็นปัญหาในอนาคต ถ้าไม่สามารถหยิบยื่นเป็นเงินให้ครอบครัวได้ การสามารถยื่นมือช่วยคนในครอบครัวได้ ยกตัวอย่างเช่น ช่วยเขาหารายได้ ช่วยเขาหางาน จะเป็นวิธีที่ยั่งยืนกว่า ยิ่งเป็นเดอะแบก ดูแลการเงินของครอบครัว ถ้าโหดร้ายหน่อยเกิดเป็นอะไรไปขึ้นมา ทุกคนในครอบครัวของจะอยู่ไม่ได้ทันที

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark