เงินทองของจริง

ออมเงินเพื่อลูก ใช้ช่องทางไหนดี? - ปุ๋ยแพง ! ทำอย่างไรให้ไม่ขาดทุน

คำนวณให้ครบ! เจ็บแต่จบปริญญาตรี การวางแผนเงินในการส่งลูกเรียน ต้องเริ่มกันตั้งแต่ตอนไหนและเก็บอย่างไร ถึงจะปลอดภัย

ออมเงินเพื่อลูก มีหลายวัตถุประสงค์ บางคนอาจจะออมให้ลูกเรียน ตั้งแต่อนุบาล ปฐมวัย เรียนจนไปถึงมหาลัย บางคนอาจจะส่งต่อไปถึงปริญญาโท บางคนก็อาจจะมองในเรื่องกิจกรรมเสริมต่างๆ เด็กไทยมีความสามารถสูง เก่งกีฬา ดนตรีดี ศิลปะยอดเยี่ยม เพราะว่ามีเวลาเรียนพวกนี้

ลักษณะของการเก็บสะสมเงิน จะเป็นเงินก้อน เป็นขวัญถุงให้กับลูกในวันที่เรียนจบ ลูกจบปริญญาตรี ก็มอบเงินขวัญถุง ต้องบอกว่าเป็นกำลังของคุณพ่อคุณแม่แต่ละคน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกัน

สิ่งแรกที่ต้องทำ  ต้องเข้าใจก่อนว่าเราจะเก็บเงินให้ลูก เก็บเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ค่าเรียนสมัยนี้ก็สามารถสืบค้น หาข้อมูลได้ว่าค่าใช้จ่ายเวลาเรียนประมาณเท่าไร กิจกรรมต่าง ๆ อีก ถ้ากำลังเก็บเงินเพื่อให้ลูกเรียนต่อ ลูกกำลังจะเรียนประถม นี่คือช่วงเวลาใกล้ ๆ การเก็บเงินก็ต้องวางแผนหน่อย จะต้องใช้จ่ายประมาณเท่าไร สะสมต่อเดือนประมาณเท่าไร แล้วที่ที่วางเงินก็ไม่ควรจะเสี่ยงนัก อาจจะใส่ไว้เงินฝาก เงินออม เรื่องกองทุนตลาดตราสารหนี้พอได้ ตัวเลขเงินมันไม่ผันผวนมาก

แต่ถ้าวางแผนถึงปริญญาตรีแล้ว จะเก็บเงินสักก้อนหนึ่ง ต้องให้แยกกัน กรณีประถมคือเงินจะใช้แล้ว ส่วนปริญญาตรีอีกไกล สามารถใส่สินทรัพย์เสี่ยงได้บ้าง

อาจจะใส่ไว้ในกองทุนหุ้นได้บ้าง หรือจะวางไว้บนหุ้นบางตัวที่มั่นใจ หุ้นปัญผล แล้วก็เก็บปัญผลสะสมไว้ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องทำสองอย่างขนานกันไป เลี้ยงดูลูก ส่งเสียให้เรียน และต้องเก็บเงินเกษียณของเราไปด้วย ให้เขาเรียนระดับที่ดีเหมาะสมเท่าที่เราจะให้เขาได้ แล้วก็เราเองก็มีเงินเก็บในการเกษียณ

เรื่องของการวางแผนการเงินให้ลูก สามารถใช้เรื่องของประกันเข้ามาเป็นตัวช่วยได้ โดยอาจจะทำทุนประกันเท่า ๆ กับวงเงินที่ลูกจะใช้เรียนตลอด ตั้งแต่เริ่มเรียนจนเรียนจบ และเรื่องของการดูแลความเจ็บป่วยของลูกระหว่างทาง พวกนี้ประกันสุขภาพต่าง ๆ ก็จะช่วยได้ด้วย

การวางแผนการศึกษาบุตร ต้องมองให้รอบด้าน มองทั้งในเรื่องของตัวลูก วางแผนตลอดอายุการเรียน วางแผนเรื่องของการเงินของเราขนานกัน วางแผนว่าถ้าเกิดเราไม่อยู่ ก็สามารถจัดการทุกอย่างได้ วางแผนที่จะป้องกันการที่เตรียมไว้ให้เขาเรียนมาจ่ายเรื่องอื่น ๆ อย่างเช่นเรื่องของประกันสุขภาพก็ต้องคิดดี ๆ

ปุ๋ยเคมีแพง ทำไมราคามันแรงจัง! แล้วเหล่าพี่น้องชาวเกษตรกรจะทำอย่างไรดี เผย โครงการของกรมพัฒนาที่ดิน มีวิธีการผสมปุ๋ยอินทรีย์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน ผ่านแอปพลิเคชั่น LDD On Farm Land Use Planning

สาเหตุหลัก ๆ มาจากผลกระทบจากการเกิดวิกฤตสงคราม
ระหว่าง รัสเซีย-ยูเครนนั่น เนื่องจากทางรัสเซียเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ของโลกส่งผลทำให้ราคาปุ๋ยเคมีทั้งโลกปรับตัวสูงขึ้น

ยกตัวอย่าง ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) เมื่อเมษายนปี 2564 อยู่ที่ 13,400 บาท/ตัน แต่ปัจจุบันกลับสูงขึ้นเป็น 30,500 บาท/ตัน  และปุ๋ยโพแทสเซียม (0-0-60) เพิ่มขึ้นจาก 12,250 บาท/ตัน เป็น 35,000 บาท/ตัน

การหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์นอกจากประเทศไทยสามารถผลิต ได้เองแล้วชาวเกษตรก็จะประหยัดต้นทุนมากขึ้น แถมยังสามารถช่วยให้ดินมีสุขภาพที่ดีขึ้นแต่สำหรับใครที่กลัวผลผลิตออกมาไม่ดี ป่วยบ้าง รากเน่าบ้างสู้กับปุ๋ยเคมีไม่ได้ ไม่ต้องห่วงโครงการของกรมพัฒนาที่ดินมีทางออกให้

โดยทางกรมพัฒนาที่ดินได้มีวิธีการผสมปุ๋ยอินทรีย์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยผ่านแอปพลิเคชั่น LDD On Farm Land Use Planning ซึ่งเป็นบริการรูปแบบดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยควบคู่กับ ผลิตภัณฑ์ พด.1-14 เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ รวมทั้งจุลินทรีย์กำจัดเชื้อในดิน เกษตรกรหรือประชาชน ที่กำลังประสบปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง อยากจะลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดทั่วประเทศ หรือ โทรสายด่วน 1760

ติดตามรายการ เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark