เงินทองของจริง

ประกันสังคม จ่ายทำไม จ่ายแล้วได้สิทธิอะไรบ้าง - หนี้ครัวเรือน ปัญหาคนไทยที่ต้องพบเจอ

มนุษย์เงินเดือนเซ็ง ! พอเงินเดือนออก ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมไปถึงหักประกันสังคม แล้วมันคุ้มไหมกับที่หักไป ? สิทธิประกันสังคมที่ควรรู้มีอะไรบ้าง

ประกันสังคมสำหรับคนทำงาน ก็จะเป็นประกันสังคมจำพวก มาตรา 33 จะต้องถูกหักทุกเดือน 5 ของเงินเดือน ฐานสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ถ้าเงินเดือนไม่ถึง ก็จะหัก 5 ตามรายได้ที่ได้ แต่ถ้าเกิดเงินเดือนเกิน 15,000 ก็จะหักสูงสุดแค่ 15,000 เท่านั้น ก็คือ 750 บาท เวลาหักจริง ๆ ก็จะมีขอนายจ้างสมทบ และภาครัฐฯ


ในส่วนของการหัก 5 ใน 2 เป็นการชดเชยความเสี่ยง ในกรณีที่ตกงาน เสียชีวิต เจ็บป่วย ในเวลาที่ไปรักษาโดยใช้สิทธิประกันสังคม 2 ตรงนี้จะถูกหักไป อีกส่วนคือ 3 จะหักเอาไปไว้ในกองทุน คือ กองทุนบำนาญชราภาพ เงินตรงนี้จะเป็นเงินเก็บ เพื่อเอาไว้ใช้ตอนเกษียณ


สามารถตรวจสอบเงินได้ ที่แอปพลิเคชัน SSO Connect เป็นของสำนักงานประกันสังคม ลงทะเบียนผ่าน เลขบัตรประชาชน สามารถเช็คได้ทุกอย่าง เงินก้อนตรงนี้จะจ่ายให้ตอนเกษียณ บำเหน็จ เงินก้อนตอนอายุ 55 ปี หรือ บำนาญ ได้ทุกเดือนจนเสียชีวิต


การจะได้เงินบำเหน็จ บำนาญ ปัจจุบันยังเลือกไม่ได้ เขาจะให้โดยการดูจากว่าจ่ายประกันสังคม ตลอดอายุการทำงานส่งไปทั้งหมดกี่ปี ถ้าส่งมากกว่า 15 ปี จะได้เป็นบำนาญ ถ้าส่งไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นบำเหน็จ


เวลาเจ็บป่วย ก็ต้องใช้สิทธิประกันสังคม การเสียชีวิตต้องใช้เงินทำงานศพ ก็จะได้เงินจากประกันสังคม หรือแม้กระทั่งตกงาน ก็จะมีเงินดชดเชยให้ อีกสิ่งที่สำคัญคือบำนาญชราภาพ เพราะถ้าเกษียณอายุไป ก็สามารถไปรับเงินมาใช้ตอนเกษียณได้


ส่งประกันสังคม 15 ปี จะได้เป็นบำนาญชราภาพ เดือนละ 3,000 บาท แต่ถ้าส่งเกิน 15 ปี จะได้เป็นบำนาญชราภาพ ประมาณ 7,500 บาท


เงินประกันสังคม เอาเงินไปลงทุนให้ตอนที่หักออกไป มีหุ้นบางส่วน และทำให้เงินเติบโต เงินที่จ่ายไปไม่ได้หายไปไหน เหมือนเป็นเงินฝาก


สำหรับใครที่ทำงานประจำ เงินที่สะสมเข่าประกันสังคม จะมีเงินสมทบของนายจ้าง และมีภาครัฐเติมเข้ามา วัตถุประสงค์คือ เป็นการจัดการความเสี่ยง เสียชีวิต เจ็บป่วย ตกงาน และเป็นกองทุนบำนาญชราภาพได้อีกด้วย

เรื่องปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาที่คนไทยหลาย ๆ คนต้องพบเจอ คือ “หนี้ครัวเรือน” เผย 3 อันดับ จังหวัดที่มีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดในประเทศ ปี 2564

หนี้ครัวเรือนคืออะไร ? จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบาย “หนี้ครัวเรือน” ไว้ว่า คือเงินที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ให้คนทั่วไปอย่างเราๆ กู้ยืมมา ซึ่งเราจะเอาเงินไปใช้ซื้อของ เช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือนำไปลงทุนทำธุรกิจ รวมถึงหนี้จากบัตรเครดิตต่างๆ ก็รวมอยู่ในหนี้ครัวเรือนเช่นกัน


โดยจากงานวิจัยของทางแบงก์ชาติ ได้รายงานถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนในประเทศไทยคือ

1. รายรับที่ไม่พอกับรายจ่าย
2. การขาดวินัยทางการเงิน
3. การนำไปใช้เพื่อการลงทุน เช่น การเช่าคอนโดเพื่อเก็งกำไร
4. การมีความรู้ในการบริหารจัดการเงินไม่ดีพอ
5. การเข้าถึงสถาบันการเงินที่ง่ายไป
6. สถาบันการเงินให้วงเงินมากเกินไป
7. อัตราดอกเบี้ยต่ำ
8. และสถานการณ์โควิด-19 เองก็เป็นตัวเร่งให้คนไทยเป็นหนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน


และนี่คือ 3 อันดับ จังหวัดที่มีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดในประเทศ ปี 2564
อันดับ 1 ปทุมธานี (57.5)
อันดับ 2 สุรินทร์ (55)
อันดับ 3 มหาสารคาม (36.8)

หนี้ครัวเรือนไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายขนาดนั้น หากอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็จะช่วยเรื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจได้

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark