เงินทองของจริง

เด็กวัยไหน ควรรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเงินบ้าง

ใคร ๆ ก็อยากรวย อยากสบาย สิ่งสำคัญข้อแรกของคนอยากรวย คือ การคิดใหญ่ พยายามหารายได้เพิ่มมากกว่าเก็บออม เพราะการออมไม่สามารถทำให้คุณรวยขึ้น

ความรวย คือ การหมดกังวลเรื่องเงิน เพราะฉะนั้นตัวเลขจะไม่ได้บอกอะไรมาก ว่ารวยหรือไม่รวย แต่มีอีกมุมมองหนึ่ง ในประเทศไทย ถ้าไม่มีหนี้ มีเงินเก็บ 10 ล้านบาท ถือว่ายังพอไหว ถ้าเอาตัวเลขจริง ๆ มีเงินเก็บเริ่มที่หลักล้าน ก็เริ่มมีความสบายใจ ถือว่าไม่ได้เดือดร้อนแล้ว

ถ้าอยากรวย ต้องเริ่มทำอะไรสักอย่าง การหารายได้ ที่มาจากทักษะ และประสบการณ์ของตัวเอง ถ้าทำตรงนี้ได้ ก็จะมีโอกาสรวย ต้องไม่หยุดพัฒนาสิ่งที่ทำอยู่ จะช่วยทำให้รายได้หลั่งใหลเข้ามา ต้องบริหารจัดการเงิน – ต่อยอดเงินเป็น ก็จะทำให้มีเงินเก็บเยอะขึ้น

ต้องมีแหล่งรายได้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ ถ้าทำแบบนี้ทุกวัน ก็จะทำให้มีเงินเก็บและรวยได้ ต้นทุนชีวิตมนุษย์ทุกคนไม่เท่ากัน แค่ตั้งใจกับชีวิต เส้นทางก็จะไปถึงจุดที่เราสร้างไว้

อยากรวยต้องทำอย่างไร

1. หาให้เจอว่าเราเก่งอะไร
2. พัฒนาต่อยอดความสามารถ
3. บริหารจัดการเงินให้เป็น
4. เรียนรู้เรื่องการลงทุน
5. สร้างรายได้หลายทาง


สำหรับครอบครัวไหนที่มีลูกแล้ว วันนี้ผมจะมาบอกว่าเด็กในแต่ละช่วงวัยควรที่จะมีการปลูกฝังเรื่องเงินอย่างไร เพราะจริงๆ แล้วเด็กจะซึมซับพฤติกรรมการใช้เงินจากพ่อแม่ ดังนั้นควรปลูกฝังเรื่องเงินๆ ทองๆ ให้แก่เด็กตั้งแต่เนิ่นๆ

วัยอนุบาล
ช่วงประมาณ 3-4 ขวบควรปลูกฝังเรื่องคุณค่าของเงิน ให้รู้ว่าพ่อกับแม่หาเงินนั้นเพื่อเอาไว้ซื้อของ เด็กวัยนี้เริ่มชอบเอาเงินหยอดกระปุกให้มีจำนวนเหรียญมากๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่พ่อแม่จะเริ่มสอนให้รู้จักเก็บเงินเพื่อไว้ใช้ในอนาคต

วัยประถม
ควรฝึกให้เด็กรู้จักสกุลเงินและวิธีนับเงิน เด็กวัยนี้จะเริ่มอยากซื้อขนม ของเล่น  ควรสอนการใช้จ่ายให้แก่เด็ก ฝึกให้เด็กรู้และแยกให้ออก ระหว่าง "ความอยากได้" หรือ "ความต้องการใช้" ให้รู้จักคุณค่าของสิ่งของ การเปรียบเทียบราคา ให้รู้จักแยกแยะราคาของสินค้าประเภทเดียวกันว่าชิ้นไหนถูกชิ้นไหนแพง

วัยมัธยม
ช่วงวัยรุ่น เด็กจะเริ่มใช้เงินเยอะขึ้น จะต้องสอนให้มีความรับผิดชอบเรื่องเงินมากขึ้น การวางแผนรายรับ-รายจ่าย พ่อแม่ควรให้เด็กได้รับรู้เรื่องภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว รับรู้สถานะการเงินที่แท้จริงของครอบครัว และระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งความสำสัญของการออมเงินสำรองยามฉุกเฉิน

วัยมหาวิทยาลัย
เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยอาจจะให้ดูแลเงินที่เป็นต่อเดือนด้วยตัวเอง เพื่อฝึกดูแลเงินที่ก้อนใหญ่ขึ้น นอกจากนี้เด็กวัยมหาวิทยาลัยจะเริ่มมีสิ่งที่อยากได้เพิ่มขึ้นและราคาสูงขึ้น อาจมีแนวโน้มใช้เงินฟุ่มเฟือย แม้ว่ายังไม่สามารถกู้เงินได้ แต่ควรเตรียมความพร้อมให้ความรู้แก่ลูกในเรื่องการกู้ยืมและการใช้บัตรเครดิต ว่าการกู้ยืมจะต้องจ่ายดอกเบี้ย

สุดท้ายนี้ อย่าลืมนะคะว่าลูกเปรียบเสมือนฟองน้ำที่จะดูดซับนิสัยทุกอย่างของพ่อแม่ ดังนั้นคุณควรมีความรับผิดชอบต่อการใช้เงินของคุณเอง พร้อมกับการสร้างวินัยให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก ให้มีพื้นฐานความรู้ด้านการเงินที่ดีก็จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดีได้

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark