เงินทองของจริง

4 เรื่องการเงินพื้นฐาน สอนลูกเรื่องการเงิน

ออมเงิน กอช. ดีอย่างไร และใครที่สามารถออมได้บ้าง มีหลักการอย่างไร เงินทองของจริงพร้อมให้คำตอบแล้ว

กอช. ย่อมาจาก กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลออกแบบขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้สะสมเงิน เอาไว้ใช้ในช่วงเกษียณ โดยรูปแบบการออม จะเปิดให้ออมได้ตั้งแต่อายุ 15-60 ปี แต่ไม่มีสิทธิ์ได้เอาไปใช้ระหว่างทาง จะใช้ได้อีกทีในตอนอายุหลัง 60 ปี รัฐฯ จะมีการจัดสรรค์เป็นเงินบำนาญให้ใช้หลังเกษียณได้

กอช. ออกแบบมาเพื่อเป็นระบบบำนาญ สำหรับคนที่ยังไม่มีตัวช่วยของภาครัฐฯ เช่น เป็นข้าราชการ จะไม่สามารถออมได้ เพราะมีประกันสังคม 

กลุ่มที่ 2 พนักงานบริษัทเอกชน จะมีระบบประกันสังคม รัฐบาลจะมีการเติมให้ ก็ไม่มีสิทธิ์ออมกับ กอช.

ดังนั้นบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม มีสิทธิ์เก็บออมเพื่อการเกษียณจาก กอช. ขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 13,200 / ปี ทุกครั้งที่ใส่เงินเข้าไป รัฐฯ จะสมทบเงินให้ตามช่วงอายุ

15-30 ปี : 50% ของเงินที่สะสม
30-50 ปี : 80% ของเงินที่สะสม ไม่เกิน 960 บาท
50-60 ปี : 100% ของเงินที่สะสม ไม่เกิน 1,200 บาท

ถ้าจ่ายตั้งแต่เด็กแล้วหยุดสะสม เงินก็จะยังไม่หายไปไหน หรือ ตั้งแต่อายุ 15 ส่งกอช.มาตลอด จน 20 ปี มีงานทำ อยู่ในระบบประกันสคม ปรากฏว่าทำงานไป 15 ปี ลาออกมาเปิดร้านเอง ก็กลับมาฝาก กอช.ต่อได้

เงื่อนไขการออกจาก กอช

• อายุครบ 60 ปี
• เสียชีวิต
• ลาออก (แต่ไม่ได้เงินสมทบทุนจากรัฐบาล)

ถ้าเริ่มส่งได้เร็ว ยิ่งเติบโต กก็จะได้เยอะ วิธีการออมกับ กอช. สามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันได้ 

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

1. กองทุนเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ 60 ปี
2. ไม่อยู่ในระบบราชการ ไม่อยู่ในกองทุนประกันสังคม
3. เริ่มต้นขั้นต่ำ 50 บาท และได้เงินสมทบจากรัฐบาลเพิ่ม
4. ผลตอบแทนเป็นเงินบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณ
5. ไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากกองทุนดูแลโดยรัฐบาล



สำหรับคนที่เป็นพ่อแม่ การเลี้ยงดูเอาใจใส่และการสอนลูกให้เติบโตเป็นคนดีถือว่าเป็นหนึ่ง ในหน้าที่ของผู้ปกครองเช่นกันครับ การสอนเรื่องวินัยทางการเงินให้ลูกเป็นการปลูกฝังให้เด็กเริ่มที่จะเรียนรู้ และเห็นถึงคุณค่าของเงินแต่ละบาทที่ต้องหามา วันนี้เราจะมาแนะนำ 4 บทเรียนเรื่องการเงินพื้นฐานเหมาะกับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สอนเขาได้ด้วยตัวเอง

1) แยกให้ออกระหว่างจำเป็น vs อยากได้
การสอนให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของแนวคิดเรื่องความ “จำเป็น” กับ“อยากได้”เป็นการปูพื้นฐานสู่วินัยการเงินที่ดีการสอนให้เด็กจัดลำดับคุณค่าสิ่งของต่างๆ ถือเป็นก้าวแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้การจัดลำดับให้ความสำคัญในการใช้เงินกับสิ่งที่จำเป็น

2) เงินไม่ได้ออกมาจากตู้เฉยๆ และไม่มีบัตรวิเศษเสกของได้
การเห็นเงินไหลออกมาจากตู้ ATM หรือพ่อแม่ใช้บัตรรูดซื้อของ อาจทำให้เด็กไม่ตระหนักว่าเงินเป็นของที่มีจำกัด พ่อแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเงินมาจากการทำงาน ให้เขาตระหนักถึงคุณค่าของเงินมากขึ้น

3) เรียนรู้เรื่องการทำงบ
วิธีให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดคือเปิดโอกาสให้เขาบริหารจัดการเงินเอง ถ้าเขาได้ค่าขนมแล้วใช้ซื้อขนมเล็กๆ น้อยๆ จนหมด ไม่ได้แบ่งมาเก็บออม เขาก็จะไม่มีเงินมาจะซื้อของเล่นชิ้นใหญ่ที่อยากได้ ประสบการณ์เหล่านี้จะสอนให้เขารู้ถึงผลของการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีการ วางแผน

4) การแบ่งปัน
การฝึกให้เด็กแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้แบ่งปัน สอนให้เด็กรู้ว่าเงินของเขาสามารถนำไปช่วยให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น แทนที่จะแค่เอาไปซื้อของ ซึ่งการแบ่งปันช่วยเหลือคนอื่นไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนมาก เพียงแค่เงินเล็กน้อยจากหลายๆ คนก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้

นี่คือ 4 บทเรียนเรื่องการเงินพื้นฐานเหมาะกับเด็กเล็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะนำไปสอนลูกๆของท่านให้เรียนรู้และเข้าใจกับการเงินมากขึ้น

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark