เงินทองของจริง

ทำประกันสุขภาพไม่ได้ วางแผนอย่างไรดี ?

การเจ็บป่วยไม่ว่าเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่มักเป็นเรื่องไม่คาดคิด ไม่มีใครรู้ว่าความเจ็บป่วย โรคร้ายจะมาทักทายร่างกายเราเมื่อไหร่ แต่การมีประกันสุขภาพไว้ทำให้อุ่นใจมากขึ้น

เมื่อเป็นโรคร้ายแรง หรือ กำลังเป็นโรคอะไรบางอย่าง เช่น เป็นมะเร็งในบางจุด เป็นเบาหวาน หรืออะไรต่าง ๆ ประกันก็จะไม่ค่อยรับ

วิธีที่ 1 อาจจะต้องตรวจสอบสิทธิพื้นฐานว่าเพียงพอไหม เช่น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,บัตรทอง เป็นประชาชนคนไทย มีบัตรประชาชน ก็จะไม่มีเงื่อนไข ค่าใช้จ่ายก็เบาลง

วิธีที่ 2 ควรปรึกษาบริษัทประกัน สามารถออกแบบประกันให้ได้ เผื่อเรามั่นใจว่าเราเป็นโรคนี้ มันต้องร้ายแรงแน่นอน เขาก็อาจจะออกแบบประกันให้เราเป็นพิเศษได้ ถ้าเป็นโรคในกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าเป็นกลุ่มอื่นก็ยังมีความคุ้มครองอยู่ ก็สามารถทำได้

วิธีที่ 3 การรับความเสี่ยงเอง ดูแลตัวเอง คือการสะสมเงินไว้ส่วนหนึ่ง และกันเงินไว้จัดการเมื่อเราเป็นโรคอะไรขึ้นมา ในกลุ่มที่เรากำลัง ก็สามารถเป็นตัวช่วยได้อีกแรง

ในกรณีที่กลัวค่ารักษาแพง สามารถเข้าไปปรึกษาแพทย์ เพื่อขอลดค่าใช้จ่ายได้ ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐฯ การรักษาก็จะถูกลงมาหน่อย ถ้ารักษากับเอกชนก็จะแพงนิดหนึ่ง 

สำหรับใครที่ มีปัญหาเรื่องสุขภาพ อยากได้รับการดูแลในส่วนของการรักษาพยาบาล

เมื่อมีปัญหาสุขภาพ ซื้อประกันได้ไหม

1.ตรวจสอบสิทธิพื้นฐานก่อรว่าพอไหม
2.ขอทำประกันกับโรคอื่นได้
3.ปรึกษาโรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมค่าใช้จ่าย
4.ดูแลสุขภาพตัวเอง



ใกล้สิ้นปีแบบนี้หลายคนเริ่มมองหาโครงการที่จะช่วยในการลดหย่อนภาษี ที่จะต้องยื่นในช่วงต้นปีของปี 2566 วันนี้เราเลยจะมาอัปเดตให้ว่า จะมีมาตรการจากรัฐอะไรบ้างที่จะช่วยเราในการลดหย่อนภาษี เพื่อที่จะเอาไปวางแผนภาษีช่วงปลายปีนี้

1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย – สูงสุด 100,000 บาท เมื่อเราซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยการผ่อนนั้นเราสามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนได้
โดยสามารถลดได้เฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้นไม่รวมเงินต้น โดยธนาคารจะมีใบสรุปส่งมาให้ทุกปีเพื่อนำหลักฐานไปยื่นกับสรรพากร

2. ช้อปดีมีคืน – เป็นโครงการเมื่อต้นปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2565 ที่ผู้ใช้จ่ายเงินสำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบกิจการขาย หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ภายในประเทศ สามารถใช้เป็น ค่าลดหย่อน ได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดปีละไม่เกิน 30,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยหากซื้อสินค้าและบริการแล้ว แล้วได้รับส่วนลด ให้ลดหย่อนได้ตามราคาที่จ่ายจริง หลังหักส่วนลดแล้ว

3. เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) – โดยคนที่ลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป สามารถนำเงินเงินลงทุนนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละไม่เกิน 100,000 บาท โดยผู้ที่จะนำเงินจำนวนนี้ไปลดหย่อนภาษี จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินเพื่อจัดตั้งหรือ เพื่อเพิ่มทุนของธุรกิจที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อ สังคม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 และต้องแจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว

และนี่คือ 3 มาตรการจากรัฐที่จะช่วยลดหย่อนภาษีลงมาได้อีก แต่การลดหย่อนยังมีอีกมาก แต่สำหรับใครที่สงสัยหรือไม่แน่ใจเรื่องการคำรนวณภาษีหรือค่าลดหย่อนต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถโทรไปปรึกษาได้ที่กรมสรรพากร  โทร. 1161 หรือสรรพากรในเขตพื้นที่ได้เลย


ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark