เงินทองของจริง

ดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร ?

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย คืออัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป

ดอกเบี้ยนโยบาย คือดอกเบี้ยที่ธนาคารกลาง (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ที่กู้ยืมเงิน หรือ จ่ายให้กับธนาคารพาณิชย์ที่มาฝากเงิน เช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป มาขอกู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารกลาง) จะต้องจ่ายดอกเบี้ย จ่ายเท่ากับดอกเบี้ยนโยบายตัวนี้ 

เมื่อธนาคารกลางประกาศเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ ต้นทุนของพาณิชย์ก็จะสูงขึ้น เวลาธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ ก็จะมีดอกเบี้ย 2 แบบ แบบคงที่ (เป็นตัวเลข) ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุน, ดอกเบี้ยลอยตัว (ตอนนั้นขึ้นเท่าไหร่ คิดจำนวนเท่านั้น) ก็จะไปกระทบกับ MLR MOR MRR 

ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ย
• ต้นทุนธนาคารพาณิชย์สูงขึ้น
• อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสูงขึ้น

เพราะฉะนั้น ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย ต้นทุนของธนาคารพาณิชย์สูงขึ้น ก็จะผลักอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตาม แล้วมากระทบกับผู้กู้ ธนาคารพาณิชย์

ดอกเบี้ยนโยบาย ขึ้นหรือลง ดูได้หลากหลายปัจจัย ขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจ, เงินเฟ้อ, เศรษฐกิจโลก หรือประเทศเพื่อนบ้านขึ้นดอกเบี้ย ดอกเบี้ยมีส่วนต่างเยอะขึ้น เงินทุนทั่วโลกก็จะหาที่อยู่ที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด 

การลดดอกเบี้ยลงก็มีอีกหลายปัจจัย การลงเพราะอยากกระตุ้นการกู้ยืม ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยนโยบายลง ธนาคารพาณิชย์ก็จะลดลงตามด้วย 

ประชาชนทั่วไป นักลงทุน , นักธุรกิจ วิธีการติดตามข่าวสารขึ้น-ลง ดอกเบี้ยนโยบาย
• ถ้าเป็นผู้ใช้สินเชื่อ ให้วางแผนคืนเงินกลับไปบ้าง
• คนลงทุน หรือ ฝากเงิน ผลตอบแทนจะสูงขึ้น

ดอกเบี้ยนโยบาย
- ดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางกำหนด เพื่อเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์
- กระทบกับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
- ติดตามข่าวสารแล้วปรับแผนการใช้เงินของตัวเอง


การตั้งรหัสในการเข้าใช้งาน บางคนตั้งง่ายๆ เพื่อให้ตนเองนั้นจำได้ หรือนำเลขที่เกี่ยวข้องกับตนเองนั้นมาตั้ง ซึ่งบอกได้เลยว่าอันตรายมากๆ รหัสแพลตฟอร์มโซเชีบล รหัสมือถือ ไปจนถึงรหัสเข้าแอพพริเคชันธนาคาร หรือรหัสบัตรATM วันนี้เราจะมาบอกเลขที่ไม่ควรนำได้ตั้งเป็นรหัสผ่าน

1.เบอร์โทร หลายคนมักจะเอาเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองไปตั้งเป็นรหัสผ่าน เพียงเพราะว่ามันจำง่าย แต่ผลร้ายก็คือคาดเดาได้ง่ายสุด ๆ เพราะเบอร์มือถือเป็นเลขที่เราต้องใช้บอกคนอื่น เพื่อติดต่อเรา ฉะนั้นจึงอันตรายมากๆ

2.วันเกิด มันไม่ได้แยบยลหรือซับซ้อนอะไรเลย แค่เปลี่ยนวันเดือนปีเกิดของคุณไปเป็นตัวเลข แล้วก็ลองกรอกดู ถ้าจะแฮกบัญชีคุณ นี่คือ 1 วิธีที่มิจฉาชีพจะต้องลองแน่นอน

3.ทะเบียนรถ ทุกคนจำทะเบียนรถตัวเองได้ดี แน่นอนว่ามิจฉาชีพก็รู้เรื่องนี้ดีเช่นกัน เพราะก็ไม่ใช่เลขที่จะปกปิดได้

4.เลขเรียง ไปบ้านไหนก็บอกรหัสไวไฟเป็นเลข 0 – 9 เพราะง่ายต่อการจำมากที่สุด แต่หารู้ไม่ว่านี้ก็เป็นเลขแบบแรกๆที่มิจฉาชีพจะคิดว่าคุณอาจจะตั้ง

และนี้ก็เป็นเลขที่เกี่ยวกับชีวิตคุณที่คุณไม่ควรนำตั้งเป็นรหัสผ่าน มิฉะนั้นข้อมูลหรือทรัพย์สินของคุณอาจรั่วไหลไปถึงมิจฉาชีพได้

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark