เงินทองของจริง

เรื่องที่ต้องรู้! การลงทุนในแต่ละช่วงวัย

ไม่ว่าใคร หรือวัยใดก็คงไม่อยากประสบปัญหาทางด้านการเงิน หากเคยสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเอง ในวัยนี้คุณควรวางแผนการเงินอย่างไร หรือควรออมและลงทุนอะไรดี เงินทองของจริงมีคำตอบให้

ในส่วนของวัยรุ่น ที่กำลังเริ่มต้นทำงาน กลุ่มนี้สามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้เยอะ หมายความว่าได้แยกเงินสำรองไว้แล้ว 

ในวัยรุ่นนี้ถ้าจะใส่ในสินทรัพย์เสี่ยง 70-100% จะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะระยะเวลาในการลงทุนเยอะ ตัวระยะเวลาในการลงทุนที่เยอะ จะสะท้อนถึงเวลาในการเรียนรู้ อาจจะต้องพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ

การลงทุนจะไม่ใช่แค่ความรู้ในการลงทุนอย่างเดียว แต่จะมีเรื่องของบประสบการณ์ อย่าลงทุนจนดหมดหน้าตัก ลงทุนเสี่ยงได้ แต่ต้องกระจายสินทรัพย์การลงทุน

หุ้นก็สามารถลงทุนได้ กองทุนหุ้นก็ได้ หรือจะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล แต่สินทรัพย์ดิจิทัลและทองคำ ไม่ควรเกิน 5-10% เพราะเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวน มีความต้องการในตลาดในแต่ละช่วง จะต่างจากหุ้น

วัย GEN-Y 30-40 GEN-X คนกลุ่มนี้จะเริ่มมีภาระในชีวิต ดูแลครอบครัว บางครอบครัวดูแลทั้งภรรยา และพ่อแม่ กลุ่มนี้สัดส่วนในการลงทุนจะต้องลดลงมา อาจจะใช้สูตร 100-อายุ จะได้เป็น เปอร์เซ็นต์การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

เพราะฉะนั้นสินทรัพย์เสี่ยงควรจะลดลง สินทรัพย์ในลักษณะคุ้มครองควรจะมีมากขึ้น สินทรัพย์เสี่ยงสูงสุดแค่ 60-70% และปรับใส่สินทรัพย์ของความคุ้มครอง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพเข้ามาแทน เช่น ตราสารหนี้ เงินฝาก

วัยเกษียณ 50ปี ขึ้นไป ช่วงวัยนี้ในสภาวะปกติจะไม่มีหนี้แล้ว จะเคลียร์หนี้บ้านหมดแล้ว ลูกก็จะเรียนจบแล้ว แต่สิ่งที่ต้องมองคือความมั่นคงของเงินที่จะใช้หลังเกษียณ ตรงนี้ควรจะปรับสินทรัพย์เสี่ยงให้หมด และเน้นที่สินทรัพย์ความมั่นคงสูง เพราะเงินจำเป็นต้องใช้แล้ว

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เกษียณแล้วจะหยุดลงทุนคงไม่ได้ เพราะหลังเกษียณอาจจะอยู่ถึง 20 ปี เสี่ยงที่จะโดนเงินเฟ้อได้ ดังนั้นจะต้องมีการลงทุนในลักษณะชดเชยเงินเฟ้อ 

หลักการลงทุนในแต่ละช่วงวัย

- เริ่มต้นทำงานลงทุนเสี่ยงได้เยอะ
- อายุ 30-50 ปี ลดสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มประกันความคุ้มครอง
- ช่วงใกล้เกษียณ ลดความเสี่ยงลงทุนแบบไม่ผันผวน


การค้ำประกันถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยง ที่อาจจะพลิกชีวิตเราให้กลายเป็นหนี้ได้แบบไม่รู้ตัว แม้จะเป็นการค้ำประกันให้คนรู้จัก หรือญาติพี่น้อง ถ้าเกิดมีการผิดนัดชำระหนี้ ตัวเราเองที่ไปเป็นผู้ค้ำประกันให้คนอื่น ที่จะต้องแบกรับภาระหนี้แทน

“ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน” มี 5 ข้อดังนี้

1. ผู้ค้ำประกันจะรับผิดแทนลูกหนี้ ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาเงินกู้เท่านั้น

2. หากเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เท่าไร ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันก็ลดลงเท่านั้นเช่นกัน และถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ที่ลดลงไม่ครบถ้วน ผู้ค้ำประกันชำระส่วนที่เหลือ

3. หากมีข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ค้ำประกันมากกว่าที่ระบุในข้อ 2. ข้อตกลงนั้นจะเป็นโมฆะ

4. ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อยื่นขอชำระหนี้ตามกำหนดเวลา แต่เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับการชำระหนี้นั้น

5. ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด หากเจ้าหนี้ยอมขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันไม่ได้ตกลงด้วยในการขยายระยะเวลาดังกล่าว

เพราะฉะนั้น ก่อนจะค้ำประกันให้ใครควรไตร่ตรองให้รอบคอบ นอกจากจะถามลูกหนี้ว่าเขาพร้อมจะเป็นหนี้และมีความสามารถในการชำระหนี้จนหมดไหม เราก็ต้องถามตัวเองด้วยว่าพร้อมที่จะเสี่ยงเป็นหนี้โดยไม่ตั้งตัวหรือไม่ รวมถึงต้องศึกษากฏหมายและข้อสัญญาให้ดีจะได้ไม่ต้องเดือนร้อนในภายหลัง

ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark