เงินทองของจริง

วางแผนสู่บ้านเกษียณสุขอย่างสำราญ วิธีเก็บเงินวางแผนอยู่บ้านพักคนชรา ต้องมีเงินเท่าไหร่ ?

วางแผนสู่บ้านเกษียณสุขอย่างสำราญ วิธีเก็บเงินวางแผนอยู่บ้านพักคนชรา ต้องมีเงินเท่าไหร่ ?

ต้องบอกว่าทุกวันนี้คนในสังคมนิยมวางแผนชีวิตแบบแต่งงานสร้างครอบครัว มีลูก น้อยลงมาก บางคนวางแผนจะไปอยู่บ้านพักคนชรา ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังเปลี่ยนไปเยอะมาก เมื่อก่อนการวางแผนทางการเงินนั้นเริ่มจากการแต่งงาน มีลูก อายุปรมาณ 50-60 ปี ก็เกษียณ แต่ว่าคนรุ่นใหม่ ๆ เริ่มวางแผนว่าจะอยู่คนเดียว เริ่มเก็บเงินเพื่อซื้อที่พักในช่วงเกษียณกันมากขึ้นเพื่อใช้ชีวิตบั้นท้ายของตัวเองอย่างที่วางแผนไว้

ในส่วนของการเลือกบ้านพักคนชราหรือบ้านเกษียณสุข ในช่วงบั้นปลายของชีวิตนั้น แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 รัฐสนับสนุน จ่ายเพียงครั้งเดียวอยู่ได้ตลอดชีวิตเริ่มต้น 200,000 บาท
ประเภทที่ 2 ราคาจับต้องได้ มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงเกินไป เริ่มต้น 10,000 บาท/เดือน

ประเภทที่ 3 ราคาสูงมีความหรูหรา ส่วนมากมาจากกลุ่มโรงพยาบาล เริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท เน้นความปลอดภัยและการบริการพยาบาลที่เพียบพร้อม อาหารการกินที่ดีครบครัน

วิธีเก็บเงินเพื่ออยู่บ้านเกษียณสุขหรือบ้านพักคนชรา
1.  เริ่มต้นจากการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณว่าต้องการ life style แบบไหน เพื่อตีออกมาเป็นมูลค่าเงินไม่ว่าจะเป็นเงินเริ่มต้น ค่าแรกเข้า รวมไปถึงค่าใช้จ่ายรายเดือนโดยประมาณด้วย
2. สำรวจเงินเก็บปัจจุบัน วางแผนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อเก็บเงินออมต่อเดือนและสำรวจว่าต่อเดือนได้เท่าไหร่
3. เริ่มเก็บเงินเลยทันที เมื่อวางแผนและได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วว่าหลังเกษียณต้องการเลือกใช้ชีวิตแบบไหนก็เริ่มเก็บเงินให้ไวที่สุด
4. อาจนำเงินเก็บไปลงทุนได้ในบางส่วน กระจายไปในส่วนของการลงทุนเช่น ประกันแบบสะสมทรัพย์
ใช้ความสม่ำเสมอเก็บต่อเนื่อง มีระยะเวลาพอสมควร และกระจายทรัพย์สินออกไป คอยติดตามทรัพย์สินแต่ละก้อนแต่ละช่องทางนั้นได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร เพื่อวัยหลังเกษียณจะได้ใช้เงินได้ตอบโจทย์  life style ของตัวเองได้

ถ้าเจาะลงไปในรายละเอียดของการเก็บออมในการลงทุนต่อเดือนควรจะเก็บกี่เปอร์เซ็นต์ ?
มองเป็นภาพง่าย ๆ ถ้าหากอายุ 40 ปี เหลือเวลาสำหรับการเก็บเงินอีก 20 ปีหรือ 240 เดือน เราอาจจะช้เป้าหมายใหญ่ ๆ มาหารด้วย 240 เพื่อสำรวจตัวเลขการเก็บต่อเดือน ถ้าตัวเลขการเก็บต่อเดือนนั้นเรารู้สึกสบาย อาจใช้เงินลงทุนในเครื่องมือที่ไม่ต้องมีความเสี่ยงมากก็ได้ เช่น พันธบัตร กองทุนตราสารหนี้ แต่ถ้าหารออกมาแล้วตัวเลขที่เราต้องใช้สูงกว่าที่เราจะเก็บก็ต้องจัดไปในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม

พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark