เงินทองของจริง

เปิดกลโกง รู้ก่อนไม่ตกเป็นเหยื่อให้มิจฉาชีพ

วันนี้มาเตือนภัย ในปัจจุบันบ้านเมืองเราตอนนี้เรื่องมิจฉาชีพก็ยังไม่หมดไป ยังคงมีการหลอกเอาเงิน ท้ายสุดเราเองอาจกลายเป็นเหยื่อสักวัน

ข้อมูลสถิติจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทยพบว่า มี 3 เรื่อง ที่มิจฉาชีพหลอกลวงเอาทรัพย์สินจากประชาชน ได้แก่

1. หลอกลวงให้ร่วมลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยมิจฉาชีพจะสร้างเพจปลอม ไลน์ปลอม แอบอ้างเป็นบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียง หลอกลวงให้ผู้เสียหายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ใช้คำพูดที่โน้มน้าวใจและน่าเชื่อถือ อ้างเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุราชการ ให้ผลตอบแทนสูง
2. หลอกลวงให้รักแล้วโอนเงิน (Romance Scam) โดยมิจฉาชีพสร้างโปรไฟล์ที่ดูดี หลอกลวงให้ผู้เสียหายเชื่อใจ ไว้ใจ หรือหลงรัก อ้างว่า อยากมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้เสียหาย หลอกว่าจะส่งสิ่งของมาให้ แต่ให้ผู้เสียหายจ่ายค่าขนส่ง ค่าภาษีก่อน เป็นต้น
3. หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมโทรศัพท์มือถือ โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปยังผู้เสียหายที่เป็นวัยเกษียณ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง หรือหน่วยงานต่าง ๆ แจ้งว่าจะได้รับเงินประกันบำนาญ ให้ทำการอัปเดตข้อมูลและหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม จนสามารถโอนเงินออกไปได้

โดยช่วงนี้ถือเป็นเวลาเกษียณอายุราชการของใครหลายคน ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะใช้โอกาสหลอกลวง หรือหาผลประโยชน์จนเกิดความเสียหายกับเหยื่อได้ ซึ่งข้อควรระวัง มีดังนี้

- การชักชวนจากคนที่เพิ่งรู้จัก ชวนให้ลงทุนโดยอ้างผลกำไรที่สูง
- หลีกเลี่ยงการลงทุนหรือข้อเสนอที่เกินกว่าจะเป็นไปได้
- การกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS)
- การรับสายจากเบอร์ที่ไม่รู้จัก โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ
- ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่น ไม่กรอกหรือเปิดเผยข้อมูลบนสื่อออนไลน์
- ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจาก App Store หรือ Play Store เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า

กลโกงของคนร้าย คือ
1. คนร้ายนำรูปและโลโก้บริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ แอบอ้างชักชวนลงทุนโดยมีผลตอบแทนสูง
2. เหยื่อหลงเชื่อทักไปสอบถาม ระบบอัตโนมัติจะแนะนำให้คุยทาง Line หรือเข้ากลุ่ม Open Chat
3 ช่วงแรกเมื่อลงทุน จะได้เงินทุนพร้อมกำไรคืน
4. เมื่อเหยื่อต้องการเลิกหรือถอนการลงทุน จะทำให้คนอื่นไม่สามารถถอนเงินได้
5. เหยื่อลงทุนเพิ่ม สุดท้ายเสียเงินไปจำนวนมาก

ข้อสังเกต
1. ระบุยอดคนสมัครปลอมเพื่อให้คนสนใจ
2. เปลี่ยนชื่อเพจบ่อย
3. ผู้ดูแลเพจไม่ได้อยู่ในประเทศไทย
4. เงินน้อย รายได้ดี มีผลตอบแทนสูง ไม่มีอยู่จริง

ข้อควรระวัง และแนวทางป้องกัน
1. ไม่เปิดอ่านหรือกดลิงก์โฆษณาแปลกปลอม
2. ควรติดตั้งแอปพลิเคชันจาก Google Play Store และ Apple Store เท่านั้น
3. ตรวจสอบบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จากเว็บไซต์ https://www.set.or.th

ซึ่งการใช้ Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ เป็นอะไรที่สุ่มเสี่ยงมากต่อโทรศัพท์ของเรา ซึ่งมิจฉาชีพอาจแฝงตัว ทำการแฮกรหัสผ่าน ล้วงเอาข้อมูลต่าง ๆ ออกไปได้ รวมทั้งข้อมูลการเงินของเราเช่นกัน และเพื่อความปลอดภัยควรปฏิบัติดังนี้
- ปิดการใช้สัญญาณ Wi-Fi โดยเฉพาะ Wi-Fi สาธารณะ
- กรณีจะใช้แอปฯ ธนาคาร ควรใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ 3G 4G หรือ 5G
- ควรตั้งค่าปิดการใช้ Wi-Fi ในโทรศัพท์มือถือไว้ แล้วเปิดใช้เพื่อจำเป็นต้องใช้เท่านั้น

พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark